หน้าเว็บ

วันอังคารที่ 3 มีนาคม พ.ศ. 2558

การใช้เทคโนโลยีในการประกอบธุรกิจ

การนำเทคโนโลยีสารสนเทศมาใช้ในงานธรุกิจ

1.การประยุกต์ใช้เทคโนโลยีสารสนเทศกับงานธุรกิจ
การประยุกต์เทคโนโลยีสารสนเทศกับระบบงานในองค์กรและงานด้านบริหารในโลกยุคใหม่มีการแข่งขันกันอย่างรุนแรง ทำให้การค้าและการดำเนินธุรกิจมีการเปลี่ยนแปลงองค์กรต่างๆเริ่มพยายามเปลี่ยนแปลงให้ก้าวทันสู่ยุคของการค้ารูปแบบใหม่ โดยผ่านเคืรอข่ายอินเตอร์เน็ต เพื่อเพิ่มช่องทางการค้าขายการตลาดและการบริการไปสู่กลุ่มลูกค้าทั้งเก่าและใหม่ เป็นการสร้างความพึงพอใจแก่ลูกค้า คำว่า "อีคอมเมิร์ซ"จัดเป็นทางเลือกหนึ่งที่ช่วยให้องค์กร ได้เปรียบคู่แข่งขัน
2.ความหมายของอีคอมเมิร์ซ (E-Commerce)
หรือชื่อที่แปลเป้นไทยว่า "พาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์" หมายถึงการดำเนินธุรกิจซื้อขายโดยใช้สื่ออิเล็กทรอนิกส์และคอมพิวเตอร์ ซึ่งเป็รส่วนหนึ่งของ E-Business หมายถึง การทำกิจกรรมทุกๆอย่างทุกขั้นตอนผ่านสื่ออิเล็กทรอนิกส์ ซึ่งมีขอบเขตที่กว้างกว่าอีคอมเมิร์ซที่เป็นการดำเนินธุรกิจโดนอาศัยเทคโนโลยีสารสนเทศและโทรคมนาคมเป็นโครงสร้างพื้นฐานเพื่อให้สามารถติดต่อสื่อสารกับลูกค้า ค้นหาข้อมูลหรือทำงานร่วมกันได้


อีคอมเมิร์ซ เป็นเรื่องที่ละเอียดอ่อน การตัดสินใจลงทุนในธุรกิจประเภทนี้ จะต้องวางแผนให้รัดกุม เพราะในปัจจุบันมีคู่แข่งขันเข้ามาในธุรกิจมาก เพราะนักลงทุนสามารถเปิดธุรกิจได้ง่ายและกำลังอยู่ในความสนใจของคนรุ่นใหม่


3.ความเป็นมาของอีคอมเมิร์ซ


ปัจจุบันมีการแลกเปลี่ยนข้อมูลระหว่างบริษัทด้วยการใช้ระบบไปรษณีย์ และอีกหลายบริษัทใช้วิธีการป้อนข้อมูลลงในโปรแกรมแบบฟอร์มธุรกิจไม่ว่าจะเป็นใบสั่งซื้อใบส่งสินค้าใบเสร็จรับเงินและจัดพิมพ์ข้อมูลออกทางเครื่องพิมพ์ จึงจัดส่งแบบฟอร์มนั้นหรือใช้วิธีส่งแฟกซ์ ทำให้บริษัทต้องสูญเสียเวลามากมายในการใช้ระบบแบบเดิม

ต่อมายุคการแลกเปลี่ยนข้อมูลอิเล็กทรอนิกส์(EDI)จึงได้มีแนวคิดที่จะทำให้คอมพิวเตอร์ช่วยการค้าทั้งสองฝ่ายแลกเปลี่ยนเอกสารกันทางอิเล็กทรอนิกส์ได้โดยตรง คือ คอมพิวเตอร์ของฝ่ายหนึ่งจัดส่งเอกสารต่างๆที่เคยต้องพิมพ์ลงไปในเอกสารนั้นไปให้คอมพิวเตอร์ของอีกฝ่ายหนึ่งในรูปข้อมูลอิเล็กทรอนิกส์โดยผ่านระบบเครือข่ายหรือเน็ตเวิร์กแบบที่จัดสร้างขึ้นโดยฌฉพาะ หรือส่งผ่านสายโทรศัทพ์ซึ่งช่วยเพิ่มความเร็วในการทำงานได้มาก แต่ปัญหาที่ตามมาคือ ไม่มีเอกสารที่อยู่บนกระดาษเป็นหลักฐานให้เซ็นชื่อกำกับเหมือนก่อน

วิธีแก้ไขปัญหาคือ ปัญหาแรกอาจต้องมีการเข้ารหัสพิเศษก่อนจะส่งข้อมูล เพื่อยืนยันได้ว่าผู้ที่เข้ารหัสมาก็คือฝ่ายที่เป็นคู่ค้าไม่ใช่บุคคลอื่นส่วนปัญหาข้อสองที่โปรแกรมไม่สามารถใช้งานในรูปแบบเดียวกันได้นั้น มีการวางมาตราฐานในการวางข้อมูลระหว่างกันให้เป็นระบบที่เรียกว่า ระบบการแลกเปลี่ยนข้อมูลอิเล็กทรอนิกส์ หรือระบบ EDI (Electronics Data Interchange)

แต่การนำระบบ EDI มาใช้ยังได้รับความนิยมน้อย เนื่องจากมีค่าใช้จ่ายในการวางระบบ และดำเนินงานสูงมาก โดยเฉพาะอย่างยิ่งในการที่จะให้คอมพิวเตอร์ของแต่ละฝ่ายที่เกี่ยวข้อง สามารถรับส่งข้อมูลกันได้อย่างราบรื่นยิ่งมีฝ่ายที่เกี่ยวข้องมากขึ้นเท่าไรความยุ่งยากซับซ้อน ที่ตามมาก็มากขึ้น ทำให้มีใช้กันเฉพาะในวงการอุตสาหกรรมหรือการค้าเฉพาะทางที่มีผู้เกี่ยวข้องเพียงไม่กี่ฝ่ายเท่านั้น เช่น ด้านอุตสาหกรรม รถยนต์

ปัจจุบันระบบอินเตอร์เน็ตเป็นที่นิยมแพร่หลาย แนวคิดในการแลกเปลี่ยนข้อมูล เพื่อการค้าระหว่างคอมพิวเตอร์ของแต่ธุรกิจที่เกี่ยวข้องโดยตรงนั้นก็เกิดขึ้น โดยแทนที่ระบบ EDI ซึ่งเป็นระบบของธุรกิจขนาดใหญ่ แต่กลายเป็นระบบการซื้อขายในระดับของผู้บริโภคทั่วๆไปโดยตรง ใครมีคอมพิวเตอร์สามารถต่อระบบอินเตอร์ได้ก็สามารถเข้าร่วมกันกระบวนการค้าอิเล็กทรอนิกส์ได้ทันที

การค้าทางอิเล็กทรอนิกส์บนอินเตอร์เน็ตสามารถทำได้ง่ายกว่า เพราะการเปลี่ยนแปลงทางด้านซอฟต์แวร์ที่ใช้งาน โปรแกรมสำหรับเรียกดูข้อมูล เช่น โปรแกรม Internet Explorer สามารถทำงานได้ค่อนข้างหลากหลาย และพัฒนาให้มีปรพสิทธิภาพอย่างต่อเนื่อง 

4.ประโยชน์ของอีคอมเมิร์ซ (E-Commerce)

ประโยชน์ของอีคอมเมิร์ซต่อบุคคล มีดังนี้

1.มีสินค้าและบริการราคาถูกจำหน่าย

2.ทำให้ลูกค้ามีทางเลือกมากขึ้น

3.สามารถทำธุรกรรมได้ตลอด 24 ชั่วโมง

4.ทราบข้อมูลเกี่ยวกับสินค้าและบริการได้ในเวลาที่รวดเร็ว

5.ทำให้ลูกค้าสามารถเลือกสินค้าตรงตามความต้องการมากที่สุด

6.สนับสุนนการประมูลเสมือนจริง

ประโยชน์ของอีคอมเมิร์ซต่อองค์กรธุรกิจ มีดังนี้

1.ขยายตลาดในระดับประเทศและระดับโลก

2.ทำให้บริการลูกค้าได้จำนวนมากทั่วดลกด้วยต้นทุนที่ต่ำ

3.ลดปริมาณเอกสารเกี่ยวกับการสร้าง การประมวล ได้ถึงร้อยละ 90

4.ลดต้นทุนการสื่อโทรคมนาคม เพราะอินเตอร์เน็ตราคาถูกกว่าโทรศัพท์

5.ช่วยให้บริษัทขนาดเล็กสามารถแข่งขันกับบริษัทขนาดใหญ่ได้

ประโยชน์ของอีคอมเมิร์ซต่อสังคม มีดังนี

1.สามารถทำงานที่บ้านได้ ทำให้มีการเดินทางน้อยลง การจราจรไม่ติดขัด

2.การซื้อสินค้าราคาถูกลง คนที่มีฐานะไม่รวยก็สามารถยกระดับมาตรฐานการขายสินค้าและบริการได้

ประโยชน์ต่อระบบเศรษฐกิจ มีดังนี้

1.กิจการ SME ในประเทศกำลังพัฒนาอาจได้ประโยชน์จากการเข้าถึงตลาดที่กว้างขวางในระดับโลก

2.ทำให้กิจการประเทศที่กำลังพัฒนาสามารถเข้าถึงเทคโนโลยีใหม่ๆได้

3.บทบาทของพ่อค้าคนกลางลดลง

5.ข้อจำกัดของอีคอมเมิร์ซ

ของจำกัดของอีคอมเมิร์ซด้านเทคนิค มีดังนี้

1.ขาดมาตราฐานสากลที่เป็นที่ยอมรับในด้านคุณภาพ ความปลอดภัยและความน่าเชื่อถือ

2.ความกว้างของช่องทางการสื่อสารมีจำกัด

3.ซอฟต์แวร์อยู่ระหว่างกำลังพัฒนา

4.ต้องการ Web server และ Network Server ที่ออกแบบมาเป้นพิเศษ

ข้อจำกัดของอีคอมเมิร์ซด้านกฎหมาย มีดังนี้

1.กฎหมายที่สามารถคุ้มครองการทำธุรกรรมข้ามรัฐหรือข้ามประเทศ ไม่มีมาตราฐานที่เหมือนกัน และมีลักษณะที่แตกต่างกัน

2.ปัญหาเกิดจากทำธุรกรรม เช่น การส่งสินค้ามีลักษณะแตกต่างตากที่โฆษณาบนอินเตอร์เน็ต

ข้อจำกัดของอีคอมเมิร์ซด้านธุรกิจ มีดังนี้
1.วงจรผลิตภัณฑ์ (Product Life Cycle) จะสั้นลงเพราะการเข้าถึงข้อมูลทำได้ง่ายและรวดเร็ว เกิดคู่แข่งขันเข้ามาในตลาดได้ง่ายและรวดเร็ว
2.ความพร้อมของภูมิภาคต่างๆในการปรับโครงสร้างเพื่อรองรับการเจริญเติมโตของ E-Commerce มีไม่เท่ากัน
3.ภาษีและค่าธรรมเนียมจากค่าธรรมเนียม E-Commerceจัดเก็บได้ยาก
4.ต้นทุนในการสร้าง E-Commerce แบบครบวงจรต้นทุนสูง
ข้อจำกัดของอีคิมเมิร์ซด้านอื่นๆ มีดังนี้
1.การให้ข้อมูลที่เป็นเท็จบนอินเตอร์เน็ตมีมาก
2.ยังไม่มีการประเมินผลการดำเนินงาน หรือวิธีการที่ดี ของ E-Commerce เช่น การโฆษณา
3.จำนวนผู้ซื้อ/ผู้ขายที่ได้กำไรหรือประโยชน์จาก E-Commerce ยังมีจำกัดในประเทศไทย
6.โครงสร้างพื้นฐานของอีคอมเมิร์ซ
การนำอีคอมเมิร์ซ มาประยุกต์ใช้ในการดำเนินธุรกิจ จำเป็นต้องอาศัยโครงสร้างพื้นฐานของเทคโนโลยี เพื่อใช้เป็นแรงขับเคลื่อนธุรกิจให้สามารถบรรลุถึงเป้าหมายที่วางไว้โดยแบ่งองค์ประกอบหลักได้ 5 ส่วน ดังนี้
1.การบริการทั่วไป เป็นบริการที่ช่วยอำนวยความสะดวกและรวดเร็วให้กับลูกค้า และสมาชิกที่สั่งซื้อสินค้าและบริการ
2.ช่องทางการติดต่อสื่อสาร เป็นช่องทางการติดต่อสื่อสาร เพื่อใช้แลกเปลี่ยนข้อมูลระหว่างผู้ใช้บริการกับผู้ใช้บริการผ่านทางโครงข่ายโทรคมนาคมได้แก่ EDI,E-mail
3.รูปแบบของเนื้อหา เป็นการจัดรูปแบบของเนื้อหาเพื่อการนำเสนอสินค้าหรือบริการในรูปแบบสื่อประสม ซึ่งผสมผสานระหว่างข้อความ ภาพนิ่ง ภาพเคลื่อนไหว และเสียงเข้าด้วยกันแล้วส่งผ่านเว็บ
4.ระบบเครือข่าย เป็นการเชื่อมต่อระหว่างคอมพิวเตอร์ตั้งแต่ 2 เครื่องขึ้นไปเข้าด้วยกันโดยมีวัถุประสงค์เพื่อทำให้คอมพิวเตอร์สามารถสื่อสารกันได้
5.ส่วนประสานผู้ใช้ เป็นส่วนที่ใช้ในการติดต่อระหว่างผู้ใช้บริการผ่านโปรแกรม Web Browser
7.ประเภทของอีคอมเมิร์ซ
อีคอมเมิร์ซ สำหรับกลุ่มธุรกิจค้ากำไร สามารถแบ่งตามความสัมพันธ์ทางการตลาดระหว่างผู้ซื้อและผู้ขายสินค้าหรือบริการ แบ่งออกได้ 6 ประเภท ดังนี้
1.แบบธุรกิจกับธุรกิจ (B2B : Business-to-Business)
เป็นการทำธุรกรรมการค้าระหว่างผู้ประกอบการกับผู้ประกอบการหรือผู้ดำเนินธุรกิจด้วยกัน เช่น การจัดซื้อ-จัดจ้าง การจัดการสินค้าคงคลัง เทคโนโลยีที่นำมาใช้สนับสุนน ได้อก่ SCM เพิ่มความสามารถในการทำกำไร โดยมีการใช้ IT โดยมีการใช้ IT เข้าร่วมตั้งแต่การจัดซื้อชิ้นส่วนวัตถุดิบ จนถึงการส่งมอบสินค้าและบริการ
2.แบบธุรกิจกับผู้บริโภค (B2C : Busniess-to-Commerce)
เป็นรูปแบบของการทำธุรกรรมทางการค้าระหว่างผู้ประกอบกับผู้บริโภคโดยตรง โดยใช้รูปแบบการดำเนินงานและเทคโนโลยีที่ช่วยสนับสนุน ปัจจุบันจะพบเห็นธุรกิจแบบนี้มาก กิจกรรมการซื้อขายแบบนี้ บริษัทหรือร้านค้าจะเปิดเว็บไซค์ เพื่อให้ลูกเข้ามาเลือกซื้อ
3.แบบผู้บริโภคกับผู้บริโภค (C2C : Consumer-to-Consumer)
เป็นรูปแบบการทำธุรกรรมทางการค้าระหว่างผู้บริโภคกับผู้บริโภคโดยตรง โดยใช้รูปแบบการดำเนินงานและเทคโนโลยีเป็นสื่อกลางในการแลกเปลี่ยนระหว่างกัน ส่วนใหญ่เป็นสินค้าประเภทมือสอง
4.แบบผู้บริโภคกับธุรกิจ (C2B : Consumer-to-Business)
เป็นรูปแบบของการทำธุรกรรมทางกาค้าระหว่างผู้บริโภคกับผู้ประกอบการ โดยผู้บริโภคได้มีการจัดตั้งเป็นกลุ่มสมาชิกหรือสหกรณ์ ดำเนินการกับผู้ประกอบการในนามของกลุ่มสมาชิกหรือสหกรณ์ที่ใช้สื่ออินเตอร์เน็ต
5.แบบธุรกิจกับรัฐบาล (B2G : Busniess-to-Government)
เป็นรูปแบบการจัดจำหน่ายสินค้าและบริการโดยตรงจากผู้ค้ากับรัฐาบาล ซึ่งรูปแบบที่ใช้ในเมืองไทยคือ การประมูลขายสินค้าให้กับภาครัฐ (E-Auction) และรูปแบบการให้บริการออนไลน์
6.แบบโมบายคอมเมิร์ซ (Mobile Commerce)
เป็นรูปแบบการค้าในระบบไร้สาย เช่น บริการดาวน์โหลดริงโทนผ่านโทรศัพท์มือถือ
8.ขั้นตอนการค้าแบบอีคอมเมิร์ซ
การทำการค้าทางธุรกิจในระบบอีคดมเมิร์ซ (E-Commerce) มีขั้นตอน 4 ขั้นตอน ดังนี้
1.แนะนำสินค้า/บริการด้วยการออกแบบและจัดทำเว็บไซค์ โดยจัดทำขึ้นดองหรือใช้บริการจากบริษัทที่รับออกแบบและจัดทำเว็บไซค์ การทำเว็บไซค์เป็นเครื่องหลัก ในการทำตลาดอีคอมเมิร์ซที่สำคัญ
2.สั่งซื้อสินค้าและบริการ เมื่อผู้ซื้อพบสินค้าหรือบริการที่ต้องการก็จะดูรายละเอียดปลีกย่อยที่เกี่ยวข้องว่าสินค้าหรือบริการเป็นอย่างไร ชำระสิ้นค้าหรือบริการได้โดยวิธีใดบ้าง
3.การชำระค่าสินค้าหรือบริการทางอินเตอร์เน็ต เมื่อรายการสินค้าหรือบริการถูกส่งไปตามทางเลือกของระบบอีคอมเมิร์ซที่ผู้ขายได้จัดทำไว้ ซึ่งอาจเป้นการรับพัสดุแบบพนักงานเก็บเงิน การจ่ายค่าสินค้าหรือบริการด้วยบัตรเครดิต หรือทางเลือกอื่นๆ
4.การจัดส่งสินค้าหรือบริการหลังจากที่มีการตกลงวิธีการชำระค่าสินค้า หรือบริการและวิธีการจัดส่งแล้ว ผู้ชายก็จะเป็นผู้จัดส่งสินค้าหรือบริการด้วยวิธีที่ตรงกันไว้เป็นอันเสร็จขั้นตอนการทำการค้าในระบบอีคอมเมิร์ซ

บทบาทขององค์ธุรกิจ



หน้าที่องค์การธุรกิจ (Business Function)



Business Opportunity

   หน้าที่ขององค์การธุรกิจที่สำคัญ มีดังนี้
1. องค์การและการจัดการ (Organization and Management : O & M)
องค์การ (Organization) เป็นระบบการจัดการที่ออกแบบและดำเนินงานให้บรรลุวัตถุ-ประสงค์เฉพาะอย่าง หรือหมายถึง บุคคลตั้งแต่ 2 คนขึ้นไป ทำงานร่วมกัน และประสานงานกัน เพื่อให้ผลลัพธ์ของกลุ่มประสบความสำเร็จ
การจัดการ (Management) เป็นกระบวนการเพื่อให้บรรลุจุดมุ่งหมายขององค์การ โดยใช้การวางแผน (Planning) การจัดองค์การ (Organization) การชักนำ (Leading) และการควบคุม (Controlling) มนุษย์ สภาพแวดล้อมทางกายภาพ การเงิน ทรัพยากรข้อมูลขององค์การได้อย่างมีประสิทธิภาพและประสิทธิผล

2. การผลิตและการปฏิบัติการ (Production and Operations) เป็นกิจกรรมซึ่งเกี่ยวข้องกับการผลิตสินค้าและบริการ โดยผ่านกระบวนการแปรสภาพ (Conversion Process) จากปัจจัยนำเข้า (Input) เพื่อให้ออกมาเป็นปัจจัยนำออก (Output) เพื่อให้มีความสม่ำเสมอในการผลิตสินค้าให้สอดคล้องกับการออกแบบทางวิศวกรรม โดยก่อให้เกิดผลเสียต่ำสุดและเกิดผลผลิตสูงสุดตลอดจนมีความรวดเร็วต่อการปรับเข้าหาความต้องการซื้อของลูกค้าได

3. การบริหารทรัพยากรมนุษย์ (Human Resources Management : HRM) เป็นการใช้ประโยชน์จากทรัพยากรมนุษย์ของธุรกิจเพื่อให้บรรลุวัตถุประสงค์ขององค์การและเป้าหมายเฉพาะบุคคล

4. การตลาด (Marketing) เป็นกระบวนการวางแผนและการบริหารแนวความคิดเกี่ยวกับการตั้งราคา การส่งเสริมการตลาด การจัดจำหน่ายสินค้า บริการหรือความคิดเพื่อสร้างให้เกิดการแลกเปลี่ยน เพื่อตอบสนองความพึงพอใจของบุคคลและบรรลุเป้าหมายขององค์การ

5. การบัญชี (Accounting) เป็นขั้นตอนของระบบการรวบรวม การวิเคราะห์และการรายงานหรือสรุปข้อมูลทางการเงิน หรือเป็นการออกแบบระบบการบันทึกรายการ การจัดทำรายงานทางการเงิน โดยใช้
ข้อมูลที่บันทึกไว้และแปลความหมายของรายการนั้น

6. การเงิน (Finance) เป็นการใช้กลยุทธ์ทางการเงิน เพื่อความอยู่รอด ความเจริญเติบโต และความคล่องตัวทางด้านการเงิน เพื่อให้เกิดกำไรสูงสุดและความมั่งคั่งสูงสุด หรือเป็นงานที่เกี่ยวข้องกับการจัดหาเงินทุน และการใช้เงินทุนด้วยวิธีการที่ทำให้เกิดมูลค่าของธุรกิจสูง

7. ระบบสารสนเทศ (Information System : IS) หรือ ระบบสารสนเทศของกิจการ (Management Information System : MIS) เป็นระบบของกระบวนการข้อมูลที่ออกแบบเพื่อรวบรวม เก็บรักษา แยกแยะ และนำกลับมาใช้เพื่อสนับสนุนการวางแผน การตัดสินใจ การประสานงาน และการควบคุม

      วงจรธุรกิจ (Business Life Cycle)
    วงจรธุรกิจมีลำดับขั้นตอน 4 ขั้น ดังนี้
1. ขั้นเจริญรุ่งเรือง (Prosperity) เป็นขั้นตอนที่นักลงทุนนิยมลงทุนมากที่สุด เพราะเป็นขั้นที่ธุรกิจกำลังขยายตัวอย่างรวดเร็ว
2. ขั้นถดถอย (Recession) เป็นขั้นที่การลงทุนโดยทั่วไปจะลดลง ซึ่งเกิดขึ้นหลังจากธุรกิจมีการขยายตัวเต็มที่แล้ว
3. ขั้นตกต่ำ (Depression) เป็นขั้นที่ธุรกิจจำเป็นต้องลดการผลิตและลดการลงทุน เนื่องจากสินค้าขายไม่ออกและมีราคาต่ำจนผู้ผลิตขาดทุน
4. ขั้นฟื้นตัว (Recovery) เป็นขั้นที่ธุรกิจเริ่มฟื้นตัวและเข้าสู่ขั้นเจริญรุ่งเรืองอีกครั้งหนึ่ง
     ข้อสังเกต การดำเนินการทางธุรกิจในยุคปัจจุบัน ควรมุ่งเน้นในเรื่อง Feasible Profit คือ การทำกำไรเท่าที่สามารถจะทำได้หรือเท่าที่จะเป็นไปได้ เพราะสภาพเศรษฐกิจที่ตกต่ำและถดถอยในยุคปัจจุบันนั้น การประคองตัวให้ธุรกิจอยู่รอดก็ถือว่าประสบความสำเร็จแล้ว
เ Four Tigers (4 เสือเศรษฐกิจของเอเชีย) หมายถึง 4 ประเทศที่พัฒนาเศรษฐกิจสู่ความเป็นประเทศอุตสาหกรรมใหม่ (Newly Industrial Countries : NIC) ซึ่งได้แก่ เกาหลีใต้ (South Korea) , ไต้หวัน (Taiwan) , ฮ่องกง (Hong Kong) และสิงคโปร์ (Singapore

ความสัมพันธ์ระหว่างธุรกิจกับเศรษฐกิจและสังคมของประเทศ

หน่วยที่ 9
ความสัมพันธ์ระหว่างธุรกิจกับเศรษฐกิจและสังคมของประเทศ
สาระการเรียนรู้
1.  ความหมายของเศรษฐกิจ
2.  ปัจจัยแวดล้อมภายนอก
3.  วิวัฒนาการทางเศรษฐกิจและสังคมของประเทศไทย
4.  แผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ฉบับที่ 1-8
5.  แผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ฉบับที่ 9

จุดประสงค์การเรียนรู้
1.  บอกความหมายของเศรษฐกิจและปัจจัยที่สำคัญของระบบเศรษฐกิจได้
2.  บอกปัจจัยแวดล้อมภายนอกองค์กรธุรกิจได้
3.  บอกวิวัฒนาการทางเศรษฐกิจและสังคมของประเทศไทยตั้งแต่อดีตจนถึงปัจจุบันได้
4.  บอกลักษณะสำคัญของแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ฉบับที่ 1-9 ได้

แบบทดสอบก่อนเรียน หน่วยที่ 9
ความหมายของเศรษฐกิจ
    เศรษฐกิจ (Economics) หมายถึง กิจการหรือกระบวนการใด ๆ ก็ตามที่เกี่ยวข้องกับการผลิตสินค้า บริการจำหน่าย การค้าขาย และเกิดการบริโภคใช้สอยของประชาชนในสังคมนั้น
    ระบบเศรษฐกิจประกอบไปด้วยปัจจัยสำคัญ 4 ประการ ได้แก่
    -  ทรัพยากรธรรมชาติ 
(Natural Resources)
    -  แรงงาน (Labor)
    -  ทุน (Capital)
    -  ผู้ประกอบการ (Enterpreneur)

ปัจจัยแวดล้อมภายนอกองค์กรธุรกิจ  แบ่งออกเป็น 4 กลุ่มใหญ่ ๆ ได้แก่
    ปัจจัยแวดล้อมด้านเศรษฐกิจ เช่น
  
  -  ทรัพยากรที่เป็นปัจจัยในการผลิต
    -  การคาดคะเนระดับราคาและรายได้
    -  นโยบายด้านการเงินการคลังของรัฐบาล
    -  ภาวะเงินเฟ้อหรือเงินฝืด
    -  ขนาดของตลาด

    ปัจจัยแวดล้อมด้านสังคมและวัฒนธรรม เช่น
  
  -  ทัศนคติ ความเชื่อ ค่านิยมของสังคม
    -  ระดับการศึกษา
    -  วัฒนธรรมและจารีตประเพณี
    -  ชนชั้นวรรณะทางสังคม
    -  เพศ  อายุ

    ปัจจัยแวดล้อมด้านกฎหมายและการเมือง เช่น
   
 -  กฎหมายและข้อบังคับที่เกี่ยวข้องกับการดำเนินธุรกิจ
    -  นโยบายของรัฐบาลที่เกี่ยวข้องกับเศรษฐกิจและสังคม
    -  ความมั่นคงและความมีเสถียรภาพของรัฐบาล
    -  ความสงบเรียบร้อยหรือความวุ่นวายทางการเมือง

    ปัจจัยแวดล้อมด้านเทคโนโลยี เช่น
   
 -  การประดิษฐ์คิดค้นผลิตสินค้าหรือผลิตภัณฑ์สิ่งใหม่ ๆ
    -  ความก้าวหน้าและสะดวกรวดเร็วในการขนส่งสินค้าและบริการ
    -  ความสามารถในการจัดเก็บข้อมูล
    -  ความก้าวหน้าทางการแพทย์
    -  ความก้าวหน้าในการติดต่อสื่อสาร
 

วิวัฒนาการทางเศรษฐกิจและสังคมไทยในอดีต
    1.  สภาพเศรษฐกิจและสังคมไทยสมัยกรุงสุโขทัย  ด้านการค้าที่สำคัญ คือ ประเทศจีน ซึ่งได้มีการจัดสินค้าลงเรือและสินค้าที่สำคัญได้แก่เครื่องปั้นดินเผา และของป่า  ระบบการปกครองเป็นแบบพ่อปกครองลูก อาชีพที่นิยมคืออาชีพรับราชการ
    2.  สภาพเศรษฐกิจและสังคมไทยสมัยกรุงศรีอยุธยา  ด้านการค้าที่สำคญได้แก่ประเทศโปรตุเกส สเปน ฮอลันดา อังกฤษ ฝรั่งเศส และญี่ปุ่น  แต่ก็เป็นการค้ากับทางราชการเสียเป็นส่วนใหญ่ ประชาชนทั่วไปยังคงมีอาชีพทางด้านการเกษตร ด้านหัตถกรรม และนิยมเข้ารับราชการ
    3.  สภาพเศรษฐกิจและสังคมไทยสมัยกรุงธนบุรี  เป็นยุคที่บ้านเมืองกำลังแตกเป็นก๊ก มีการทำศึกสงคราม ประชาชนต้องหลบหนีภัยสงครามไปอยู่ตามป่าตามเขา
    4.  สภาพเศรษฐกิจและสังคมไทยสมัยกรุงรัตนโกสินทร์  เริ่มมีความเจริญก้าวหน้าอย่างรวดเร็ว ไม่ว่าจะเป็นถนน ทางรถไฟ ไฟฟ้า ประปา ฯลฯ แต่อาชีพรับราชการยังคงเป็นอาชีพที่นิยมกันอยู่  ประชาชนส่วนใหญ่มีอาชีพทางด้านการเกษตรกรรม โดยเฉพาะการทำนาปลูกข้าว รัฐบาลเริ่มส่งเสริมให้มีการผลิตเพื่อส่งออกและติดต่อค้าขายกับต่างประเทศทั่วโลก
    5.  สภาพเศรษฐกิจและสังคมไทยในปัจจุบัน  ปัจจุบันได้พัฒนามาสู่การผลิตด้านอุตสาหกรรม การค้า และการบริการมากขึ้น  แต่ส่วนใหญ่ก็ยังคงทำงานอยู่ในภาคการเกษตร สังคมไทยมีขนาดครอบครัวที่เล็กลง คนรุ่นใหม่รับเอาแนวคิดและวัฒนธรรมจากต่างประเทศเข้ามาโดยผ่านสื่อต่าง ๆ
แผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติฉบับที่ 1-9
    ประเทศไทยมีการประกาศใช้แผนพัฒนาครั้งแรกเมื่อวันที่ 1 มกราคม 2504

    -  แผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ฉบับที่ 1 เน้นการเสริมสร้างโครงสร้างพื้นฐานทางเศรษฐกิจ
    -  แผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ฉบับที่ 2 เน้นการพัฒนาสังคมควบคู่ไปกับการพัฒนาเศรษฐกิจ
    -  แผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ฉบับที่ 3 เน้นเรื่องความร่วมมือระหว่างส่วนราชการส่วนกลางกับส่วนภูมิภาค และส่วนท้องถิ่น
    -  แผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ฉบับที่ 4 เน้นเรื่องความมั่นคงปลอดภัยของประเทศเป็นหลักในการพัฒนาด้านต่าง ๆ
    -  แผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติฉบับที่ 5  เน้นเรื่องการรักษาเสถียรภาพทางเศรษฐกิจและการเงินของประเทศ
    -  แผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติฉบับที่ 6  เน้นเรื่องการยกระดับมาตรฐานคุณภาพชีวิตของประชาชน
    -  แผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติฉบับที่ 7  เน้นเรื่องการรักษาความเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจ
    -  แผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติฉบับที่ 8  เน้นเรื่องการพัฒนาศักยภาพของทรัพยากรมนุษย์และเสริมสร้างสังคม
    -  แผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติฉบับที่ 9 (ฉบับปัจจุบัน)  เน้นเรื่องความมีดุลยภาพทางเศรษฐกิจ  การยกระดับคุณภาพชีวิต  การมีระบบการบริหารจัดการที่ดีและการลดความยากจน

        ระบบเศรษฐกิจเกี่ยวข้องกับการผลิตสินค้า บริการจำหน่าย การค้าขาย และเกิดการบริโภคใช้สอยของประชาชนในสังคม ประกอบไปด้วยปัจจัยที่สำคัญต่าง ๆ ซึ่งจะทำให้การดำเนินธุรกิจไปได้ด้วยความราบรื่น โดยมีปัจจัยแวดล้อมภายนอกองค์กรธุรกิจ ที่มีผลกระทบต่อการดำเนินธุรกิจ 7 กลุ่มใหญ่ คือ ปัจจัยแวดล้อมทางด้านเศรษฐกิจ  ด้านสังคมและวัฒนธรรม  ด้านกฎหมายและการเมืองการปกครอง และด้านเทคโนโลยี

การแลกเปลี่ยน

ความหมายของการแลกเปลี่ยน
การแลกเปลี่ยน (Exchange) คือ การเปลี่ยนกรรมสิทธิ์การเป็นเจ้าของสินค้าสิ่งของและบริการโดยอาจจะนำมา แลกเปลี่ยนกันโดยตรง หรือโดยอ้อมหรือวิธีการใด ๆ ก็ได้

ความสำคัญของระบบการแลกเปลี่ยน

เนื่องจากมนุษย์แต่ละคนมีความชำนาญเฉพาะอย่าง ที่ไม่เหมือนกัน และทรัพยากรในแต่ละถิ่นฐานต่างกัน เช่น บางคนมีความชำนาญ ในด้านการเพราะปลูก และถิ่นที่อยู่อาศัยอุดมสมบูรณ์ทำให้สามารถผลิตพืชผลได้เป็นจำนวนมาก ขณะที่บางคนมีความชำนาญในด้านการจับสัตว์น้ำและถิ่นที่อยู่อาศัยใกล้ทะเล ทำให้สามารถจับสัตว์น้ำได้เป็นจำนวนมาก แต่ความต้องการของมนุษย์ไม่มีที่สิ้นสุด คนที่ผลิตพืชผลได้ก็มีความต้องการสิ่งอื่นนอกจากพืชที่ตัวเองผลิตได้ ส่วนคนที่จับสัตว์น้ำได้ก็มีความต้องการสิ่งอื่นนอกจากสัตว์น้ำที่ตนเองจับได้ จึงก่อให้เกิดการแลกเปลี่ยนกันขึ้นเกิดเป็นระบบเศรษฐกิจ ที่มีการแลกเปลี่ยนเพื่อให้เกิดการสนองต่อความต้องการของมนุษย์มากที่สุด

วิวัฒนาการของระบบการแลกเปลี่ยน

วิวัฒนาการของการแลกเปลี่ยนแบ่งได้เป็น 3 ระยะคือ
1. การแลกเปลี่ยนโดยใช้ของแลกของ
ในสมัยโบราณการดำเนินชีวิตของมนุษย์ในยุคแรก ๆ อาศัยการล่าสัตว์ เก็บผลไม้และอาศัยอยู่ตามถ้ำแต่ละคนแต่ละครอบครัวทำทุกอย่างด้วยตนเอง ต่อมาสังคมมนุษย์ขยายใหญ่ขึ้นมนุษย์เริ่มรู้จักทำการเพาะปลูก จับสัตว์มาเลี้ยง และสร้างที่อยู่อาศัย จึงเริ่มมีการแบ่งหน้าที่ทำตามความถนัดของแต่ละคน และนำของที่แต่ละคนแต่ละครอบครัวผลิตได้มาแลกกันเพื่อสนองความต้องการเช่น นายดำปลูกข้าวแต่มีความต้องการเนื้อไก่ นายแดงเลี้ยงไก่ แต่มีความต้องการข้าว ดังนั้นจึงเกิดการแลกเปลี่ยนกันระหว่างนายดำกับนายแดงที่มีความต้องการตรงกัน แต่ระบบการแลกเปลี่ยนของแลกของ ในการปฎิบัติมี ความยุ่งยากเกิดขึ้นหลายประการซึ่งจำแนกออกได้ดังนี้
1.1 ความต้องการของแต่ละคนไม่ตรงกัน ในการแลกเปลี่ยนโดยใช้ของแลกของนั้นความต้องการของทั้งสองฝ่ายจะต้องตรงกัน จึงจะสามารถแลกเปลี่ยน กันได้ เช่น นายขาวปลูกส้ม มีความต้องการเครื่องนุ่งห่ม นายเขียวทอผ้าทำเครื่องนุ่งห่มมีความต้องการข้าว ดังนั้น นายขาวต้องการเครื่องนุ่งห่มจากนายเขียว แต่นายเขียวไม่มีความต้องการส้มของนายขาว การแลกเปลี่ยนจึงเกิดขึ้นไม่ได้จนกว่าทั้งนายขาวและนายเขียวจะพบคนที่มีความต้องการและมีสิ่งของตรงตามที่ต้องการจึงแลกเปลี่ยนกันได้
1.2 เสียเวลาและมไม่สะดวกในการขนส่ง เนื่องจากการแลกเปลี่ยนโดยใช้ของแลกของ จำเป็นต้องขนของที่ตนเองมีอยู่เพื่อนำไปแลกเปลี่ยนกับบุคคลอื่น ซึ่งบางครั้งอาจจะต้องเดินทางไกล จนกว่าจะพบผู้ที่ต้องการตรงกัน ทำให้เสียเวลาในการขนส่งและถ้าของที่จะนำไปแลกเปลี่ยนนั้นเป็นของใหญ่ มีน้ำหนักมากจะทำให้เกิดความไม่สะดวกในการขนส่งอีกด้วย
1.3 ของบางอย่างไม่สามารถเก็บไว้ได้นาน ของแต่ละอย่างมีอายุไม่เท่ากันของบางอย่างอายุยาวสามารถเก็บได้นาน เช่น เครื่องนุ่งห่ม เสื้อ เครื่องมือเครื่องใช้แต่ของบางอย่างอายุสั้นไม่สามารถเก็บไว้ได้นาน เช่น อาหาร ผัก ผลไม้ จึงไม่เหมาะสมสำหรับเก็บไว้เพื่อแลกเปลี่ยนในอนาคต เพราะของจะแปลสภาพ ทำให้มูลค่าของสิ่งของนั้นหมดไป
1.4 ของบางอย่างไม่สามารถแบ่งย่อยได้ การแลกเปลี่ยนโดยใช้ของแลกของไม่สะดวกในการแลกเปลี่ยนที่ไม่พอดีกันในปริมาณ เช่น นายแดงปลูกข้าวมีความต้องการเนื้อวัว 1 ขา นายขาวเลี้ยงวัวมีความต้องการข้าว 20 ถัง แลกกับวัว 1 ตัว แต่นายแดงต้องการวัวเพียง 1 ขา จึงต้องการแลกกับข้าว 5 ถังซึ่งนายขาวไม่สามารถแลกเปลี่ยนให้ได้ เพราะถ้าให้วัวนายแดง 1 ขา วัวส่วนที่เหลือจะเสียไป นายขาวจึงต้องหาคนที่มีความต้องการวัว และมีข้าวอีก 15 ถังมาแลกเปลี่ยน ดังนั้น การแลกเปลี่ยนระหว่างนายแดงและนายขาวจึงไม่เกิดขึ้น
2. การแลกเปลี่ยนโดยใช้เงินเป็นสื่อกลาง
เนื่องจากการแลกเปลี่ยน โดยใช้ของแลกของประสบปัญหาดังกล่าวข้างต้นมนุษย์จึงหาวิธีการแลกเปลี่ยนที่สะดวก และมีประสิทธิภาพมากขึ้นมาใช้ โดยการกำหนดสิ่งของบางอย่างขึ้นมาเป็นสื่อกลางในการแลกเปลี่ยน โดยเรียกสิ่งนั้นว่า "เงิน"
เงิน คือ สิ่งใดก็ตามที่สังคมนั้นยอมรับให้ใช้เป็นสื่อกลางในการแลกเปลี่ยนสินค้าและบริการในขณะใดขณะหนึ่งและสถานที่ใดสถานที่หนึ่ง ซึ่งในแต่ละสังคม อาจจะใช้สิ่งใดแทนเป็นเงินก็ได้ โดยแต่ละสังคมอาจไม่เหมือนกัน สิ่งที่ใช้เป็นเงินตั้งแต่อดีต เช่น หนังสัตว์ เปลือกหอย อัญมณี ใบชา สัตว์ เกลือ เป็นต้น
เงินแบ่งออกเป็น 3 ประเภท ดังนี้
2.1 เงินตราที่มีค่าสมบูรณ์ตามที่ตราไว้ คือ เงินตราที่มีค่าเท่ากับราคาของสิ่งที่นำมาทำเป็นเงินนั้น เช่นประเทศสหรัฐอเมริกา ได้กำหนดให้ค่าของเงิน 1 ดอลลาร์เทากับทองคำบริสุทธิ์หนัก 23.22 เกรนและทองคำที่นำมาทำเหรียญดอลลาร์ ของสหรัฐอเมริกาในยุคแรกๆ ก็ทำด้วยทองคำบริสุทธิ์หนัก 23.22 เกรน ดังนั้นไม่ว่าจะนำเงินตรา 1 ดอลลาร์ไปซื้อสินค้าหรือนำเหรียญมาหลอมนำออกขายก็จะได้มูลค่าเท่ากัน
2.2 เงินตราที่ใช้แทนเงินตราที่มีค่าสมบูรณ์เต็มตามที่กำหนดไว้ คือ เงินตราที่เป็นบัตรแทนเงินโดยรัฐบาลของแต่ละประเทศ จะเป็นผู้ออกบัตร โดยผู้เป็น เจ้าของบัตรสามารถสลักหลังโอนบัตรให้แก่ผู้อื่นได้ จึงสะดวกในการซื้อขายแลกเปลี่ยนที่ต้องใช้เงินเป็นจำนวนมาก ซึ่งแต่เดิมผู้ซื้อจะต้องนำเงินตรา มีค่าสมบูรณ์เต็มตามที่ตราไว้ นำมาใช้เป็นสื่อกลางในการแลกเปลี่ยน ซึ่งไม่สะดวกในการขนย้ายและไม่ปลอดภัย
2.3 เงินเครดิต คือเงินตราชนิดใดก็ตามที่มีมูลค่าของเงินจะสูงกว่าค่าของวัสดุที่นำมาทำเงินนั้น โดยรัฐบาลจะเป็นผู้ควบคุมกำหนดปริมารเงินเครดิต ให้มีอยู่ในปริมาณที่เหมาะสม ซึ่งเงินประเภทนี้ไม่รวมถึงเงินตราที่ใช้แทนเงินตราที่มีค่าสมบูรณ์เต็มตามที่กำหนดไว้ เงินเครดิตแบ่งออกได้ ดังนี้
1. เหรียญกษาปณ์ คือ เงินตราที่ใช้โลหะในการผลิตโดยรัฐบาลเป็นผู้ออกกฏกำหนดราคาที่ตราไว้สูงกว่ามูลค่าของโลหะที่นำมาผลิตเหรียญ เช่น เหรียญ 5 บาท เมื่อนำไปใช้ในระบบเศรษฐกิจจะมีค่าเท่ากับ 5 บาท แต่เมื่อนำเหรียญมาหลอมนำออกขายจะได้ราคาต่ำกว่า 5 บาทปัจจุบัน
2. ธนบัตร คือ เงินตราที่ใช้กระดาษในการผลิต โดยธนาคารกลางของแต่ละประเทศเป็นผู้ออกธนบัตร เพื่อนำมาใช้ในระบบเศรษฐกิจ สามารถนำไปชำระหนี้ได้ตามกฎหมาย ปัจจุบันมีการนำวัสดุสังเคราะห์ประเภทพอลิเมอร์มาผลิตเพิ่มขึ้นด้วย
3. เงินฝากเผื่อเรียก คือเงินฝากที่ประชาชนฝากไว้กับธนาคารพาณิชย์ประเภทเงินฝากกระแสรายวัน สามารถใช้เช็คเป็นเครื่องมือในการถอนเงิน หรือโอนเงินเปลี่ยนมือให้บุคคลอื่น ทำให้ผู้ฝากได้รับความสะดวก ความปลอดภัย และสามารถให้ผู้รับเงินตามเช็คสลักชื่อไว้หลังเช็คเพื่อเป็นหลักฐานในการรับเงินไว้ด้วย

หน้าที่ของเงิน สรุปได้ดังนี้
1. เป็นสื่อกลางในการแลกเปลี่ยน เนื่องจากสังคมใหญ่ขึ้น มนุษย์มีการแบ่งงานกันทำตามความถนัดเมื่อผลิตสิ่งของได้ก็นำไปแลกกับเงิน และสามารถนำเงิน ที่ได้รับไปซื้อสิ่งของอื่นที่มีความต้องการแต่ผลิตเองไม่ได้ ทำให้การผลิตมีปริมาณมากขึ้นเพื่อตอบสนองความต้องการของมนุษย์
2. เป็นมาตรฐานในการกำหนดมูลค่า การกำหนดมูลค่าของสินค้าหรือบริการเป็นหน่วยของเงินเรียกว่าราคา การใช้เงินเป็นสื่อกลาง ในการแลกเปลี่ยน จะทำให้สินค้นหรือบริการตีมูลค่าออกมาเป็นราคา เช่นข้าวเปล่า 1 จาน มีราคา 5 บาท ไข่ไก่ 1 ฟอง มีราคา 2.50 บาท หมู่ 1 ตัวราคา 5,000 บาท ทำให้การวัดค่าสิ่งต่างๆเป็นมาตรฐานเดียวกัน
3. เป็นมาตรฐานการจ่ายคืนในอนาคต การซื้อขายสินค้นหรือบริการในปัจจุบันมี 2 กรณีคือขายเป็นเงินสด คือ ชำระมูลค่า ณ วันที่ตกลงซื้อขาย และขาย เป็นเชื่อ คือ ตกลงชำระมูลค่าในภายหน้าการที่ใช้เงินเป็นสื่อกลางในการแลกเปลี่ยน ทำให้การชำระหนี้ในอนาคตมีความมั่งคงและแน่นอนในมูลค่าเช่นณ วันนี้ นายดำรงตกลงซื้อเสื้อ 1 ตัว ราคา 200 บาท โดยจะจ่ายชำระเงินให้นายสุชาติ อีก 1 เดือน นับจากวันนี้เมื่อครบกำหนด ระยะเวลา 1 เดือนนายดำรงก็จ่ายชำระเงินให้นายสุชาติ 200 บาทตามข้อตกลง
4. เป็นการสะสมมูลค่า เมื่อมนุษย์มีการติดต่อซื้อขายกัน จะได้เงินเนื่องจากการแลกเปลี่ยนหรือคนงานทำงานให้นายจ้างได้ผลตอบแทนเป็นเงิน มนุษย์จะมีการสะสมเงินไว้เพื่อใช้จ่ายในอนาคต คนที่มีการสะสมเงินไว้มากก็จะแสดงถึงความมั่นคงทางฐานะทางเศรษฐกิจ
3. การแลกเปลี่ยนโดยใช้เครดิต
เครดิต คือ ความเชื่อที่เกิดขึ้นระหว่างบุคคลหนึ่งกับอีกบุคคลหนึ่ง ในระยะเวลาหนึ่ง ในระยะแรก ๆ เครคิตเกิดขึ้นเนื่องจากผู้ขายมีความเชื่อถือ ให้ผู้ซื้อ นำสินค้าไปก่อน และจ่ายเงินในภายหลังต่อมาเครดิตก็มีการพัฒนาขึ้นโดยการซื้อขายเป็นเงินเชื่อ จนมีการใช้เอกสารเครดิต เข้ามาเกี่ยวข้องเป็นหลักฐาน ประกอบด้วย เช่น บัตรเครดิต ตั๋วสัญญาใช้เงิน พันธบัตรหุ้นกู้ และมีการพัฒนาเครดิตจากการขายเชื่อเป็นการให้กู้ยืมเงินระยะสั้น ระยะปานกลางและระยะยาว
3.1 ประเภทของบัตรเครดิต
1. แบ่งตามวัตถุประสงค์การใช้เครดิต
1.1 เครดิตเพื่อการลงทุน ผู้ใช้เครดิตประเภทนี้ คือ ผู้ที่ต้องการลงทุนในสินทรัพย์ที่มีอายุการใช้งานเกินกว่า 1 ปี และเป็นสินทรัพย์ที่มีราคาสูง ต้องการใช้เงิน เป็นจำนวนมาก เช่นซื้อที่ดิน สร้างอาคาร ซื้อเครื่องจักร
1.2 เครดิตเพื่อการพาณิชย์ ผู้ใช้เครดิตประเภทนี้ คือผู้ที่ต้องการซื้อเชื่อสินค้าหรือบริการ โดยกำหนดระยะเวลาการชำระหนี้ ภายในระยะเวลาสั้นๆเช่น จ่ายชำระหนี้ภายใน30 วัน 60 วัน เป็นต้น
1.3 เครดิตเพื่อการบริโภค ผู้ใช้เครดิตประเภทนี้คือผู้ที่ต้องการซื้อสินค้าเป็นเงินเชื่อ หรือการผ่อนชำระซึ่งแต่เดิมใช้วิธีการเปิดบัญชีเงินเชื่อ และกำหนด ระยะเวลา ในการชำระเงิน โดยไม่คิดดอกเบี้ย เช่น กำหนดให้ชำระเงินภายใน 30 วัน 45 วัน ถ้าชำระเร็วผู้ขายก็อาจจะมีการกำหนดให้ส่วนลดปัจจุบันเครดิตเพื่อการบริโภคได้พัฒนาเป็นบัตรเครดิต โดยธนาคารหรือสถาบันการเงิน จะออกบัตรเครดิต ให้แก่ลูกค้าเป็นที่น่าเชื่อถือ และธนาคารหรือสถาบันการเงินนั้น จะทำข้อตกลงกับธุรกิจผู้ขายสินค้น หรือบริการให้ลูกค้าที่ถือบัตรเครดิตได้้ซื้อสินค้า หรือบริการเป็นเงินเชื่อ โดยผู้ขายสินค้าหรือบริการจะส่งในเสร็จไปเรียกเก็บเงินค่าสินค้าหรือบริการจากสถาบันการเงินหรือธนาคารผู้ออกบัตรเครดิต หลังจากธนาคารหรือสถาบันทางการเงินได้จ่ายเงินแทนลูกค้าไปแล้ว ก็จะเรียกเก็บเงินหรือหักยอดบัญชีของลูกค้า โดยปกติระยะเวลา การเรียกเก็บเงินจะเป็น วันสิ้นเดือนของแต่ละเดือน
2. แบ่งตามลักษณะของผู้ใช้เครดิต
2.1 รัฐบาลเป็นลูกหนี้ ในขณะที่รัฐบาลหรือหน่วยงานของรัฐมีความต้องการกู้เงินเพื่อนำไปใช้ในการพัฒนาบริหารประเทศ แต่รัฐบาลมีค่าใช้จ่าย มากกกว่า ภาษีที่จัดเก็บได้้จากประชาชน รัฐบาลก็สามารถจัดหาเงินได้จากการกู้ยืมจากธนาคารกลาง กู้ยืมจากธนาคารพาณิชย์ หรือออกจำหน่ายพันธบัตรรัฐบาล โดยให้ผลตอบแทนแก่ผู้ซื้อเป็นดอกเบี้ย
2.2 เอกชนเป็นลูกหนี้ เอกชนได้แก่องค์การธุรกิจหรือบุคคลธรรมดาโดยทั่วไปที่มีความจำเป็นต้องการใช้เงินซึ่งในขณะนั้นมีค่าใช้จ่ายมากกว่ารายได้เครดิตที่ได้รับจะเป็นเครดิต ที่มีสถาบันการเงินออกให้แก่องค์การธุรกิจหรือบุคคลธรรมดาที่มีหลักประกันที่มั่นคง หรือเป็นลูกค้าที่ดีของธนาคาร
3. แบ่งตามระยะเวลาของการไถ่ถอน (ชำระคืน)
3.1 เครดิตชนิดเรียกเงินคืนได้ทันที่ต้องการ การให้เครดิตประเภทนี้ จะไม่มีกำหนดระยะเวลาในการไถ่ถอน คือเจ้าหนี้ต้องแจ้งการชำระหนี้ให้ลูกหนี้ทราบก่อน สามารถชำระหนี้ได้ทันทีที่ต้องการ
3.2 เครดิตระยะสั้น การใช้เครดิตประเภทนี้ มีกำหนดระยะเวลาไถ่ถอนภายใน 1 ปี คือลูกหนี้จะต้องนะเงินมาชำระให้เจ้าหนี้ภายใน 1 ปี
3.3 เครดิตระยะปานกลาง การให้เครดิตประเภทนี้ มีกำหนดระยะเวลาไถ่ถอนเกิน 1 ปีแต่ไม่เกิน 5 ปี คือลูกหนี้จะต้องนำเงินมาชำระให้ เจ้าหนี้เมื่อระยะเวลา กู้เกิน 1 ปี และต้องชำระให้หมดไม่เกิน 5 ปี
3.4 เครดิตระยะยาว การให้เครดิตประเภทนี้ มีกำหนดระยะเวลาไถ่ถอนเกิน 5 ปี ขึ้นไป สถาบันการเงินออกเครดิตประเภทนี้ ให้กับลูกค้าที่มีหลักประกัน เป็นที่น่าเชื่อถือ เพื่อป้องกันการเกิดหนี้สูญ เพราะเครดิตประเภทนี้ จำนวนที่กู้ยืมจะสูงหรือใช้ระยะเวลาในการไถ่ถอนนาน ผู้ให้เครดิตจึงมีความเสี่ยงสูงถ้าไม่มีหลักทรัพย์ค้ำประกัน
3.2 เอกสารเครดิต คือเอกสารที่ใช้เป็นหลักฐาน แสดงการเป็นหนี้ และระยะเวลาที่ต้องชำระหนี้ได้แก่
1. ตั๋วสัญญาใช้เงิน ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพานิชย์ มาตรา 982 บัญญัติไว้ว่า “ อันตั๋วสัญญาใช้เงินนั้น คือ ตราสาร ซึ่งบุคคลหนึ่งเรียกว่า ผู้ออกตั๋วสัญญาว่าจะใช้เงินให้แก่บุคคลอีกคนหนึ่งหรือใช้ให้ตามคำสั่งของบุคคลอีกคนหนึ่ง เรียกว่า ผู้รับเงิน ” ตั๋วสัญญาใช้เงินประกอบด้วยบุคคล 2 ฝ่ายได้แก่ ผู้ออกตั๋ว มีสถาพเป็นลูกหนี้ และ ผู้รับเงิน มีสภาพเป็นเจ้าหนี้ ข้อความที่ปรากฎในตั๋วสัญญาใช้เงินประกอบด้วย
1.1 คำว่า “ ตั๋วสัญญาใช้เงิน
1.2 มีข้อความเป็นคำมั่นสัญญาว่าจะใช้เงินเป็นจำนวนแน่นอน โดยปราศจากเงื่อนไข
1.3 วันและสถานที่ออกตั๋ว
1.4 กำหนดระยะเวลา หรือวันที่กำหนดใช้เงิน
1.5 สถานที่ใช้เงิน
1.6 ชื่อยี่ห้อของผู้รับเงิน
1.7 ลายมือชื่อผู้ออกตั๋ว
2. ตั๋วแลกเงิน ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 908 บัญญัติไว้ว่า “ อันว่าตั๋วแลกเงินนั้น คือ หนังสือตราสารซึ่งบุคคลหนึ่งเรียกว่า ผู้สั่งจ่าย สั่งบุคคลอีกคนหนึ่ง เรียกว่าผู้จ่าย ให้ใช้เงินจำนวนหนึ่งแก่บุคคลคนหนึ่งหรือให้ใช้ตามคำสั่งของบุคคลคนหนึ่ง เรียกว่า ผู้รับเงิน ตั๋วสัญญาใช้เงินประกอบด้วยบุคคล 3 ฝ่ายได้แก่
1. ผู้สั่งจ่าย มีสภาพเป็นเจ้าหนี้
2. ผู้จ่าย มีสภาพเป็นลูกหนี้
3. ผู้รับเงิน อาจจะเป็นเจ้าหนี้หรือบุคคลอื่นที่เจ้าหนี้ระบุให้เป็นผู้รับเงิน
ข้อความที่ปรากฎในตั๋วแลกเงินประกอบด้วย
- คำว่า “ ตั๋วแลกเงิน ”
- มีข้อความเป็นคำสั่งให้จ่ายเงินจำนวนที่แน่นอนโดยปราศจากเงื่อนไข
- วันและสถานที่ออกตั๋ว
3. พันธบัตร คือ ตราสาร ที่ผู้ออกตราสารสัญญาว่า จะคืนเงินต้นจำนวนแน่นอนและมีกำหนดเวลาชำระคืนเงินต้นที่แน่นอนให้แก่ผู้ซื้อตราสาร โดยผู้ออกตราสารจ่ายผลตอบแทนให้ผู้ซื้อตราสารในรูปของดอกเบี้ยตามอัตราที่ระบุไว้หน้าตั๋ว
4. หุ้นสามัญ คือ ตราสารที่ผู้ออกเป็นเป็นนิติบุคคลในรูปบริษัทจำกัด หรือบริษัทมหาชนจำกัด ที่ออกมาจำหน่ายเมื่อต้องการเงินไปเป็นทุนของบริษัท โดยตราสารนี้จะแสดงถึงความเป็นเจ้าของกิจการผู้ซื้อตราสารนี้ เรียกว่า ผู้ถือหุ้นโดยได้รับผลตอยแทน จากบริษัทผู้ออกตราสารคือ เงินปันผล จำนวนของเงินปันผลที่ได้รับขึ้นอยู่กับผลกำไรของบริษัทในกรณีที่บริษัทมีผลขาดทุนจะไม่มีการจ่ายเงินปันผล ผู้ถือหุ้นสามัญจะได้รับเงินคืนทุนเมื่อบริษัทเลิกกิจการ โดยได้คืนทุนเป็นกลุ่มสุดท้าย
5. หุ้นบุริมสิทธิ คือ ตราสารที่ผู้ออกเป็นนิติบุคคลในรูปแบบบริษัทจำกัด หรือบริษัทมหาชนจำกัด ที่ออกจำหน่ายเมื่อต้องการเงินเพื่อเป็นทุนของบริษัท เช่นเดียวกับหุ้นสามัญผลตอบแทนที่ได้รับ คือเงินปันผล จะได้รับในอัตราที่แน่นอนถ้าบริษัทมีผลกำไร และได้รับก่อนหุ้นสามัญ และการได้รับคืนทุนจะได้รับก่อนหุ้นสามัญเมื่อบริษัเลิกกิจการ
6. หุ้นกู้ คือ ตราสารที่องค์การธุรกิจเอกชนออกจำหน่าย เมื่อมีความประสงค์จะกู้เงินจากบุคคลภายนอกโดยกำหนดระยะเวลาไถ่ถอนหุ้นกู้ และจำนวนเงินต้นที่จ่ายคืนแน่นอนโดยผู้ซื้อตราสารจะได้ผลตอบแทนในรูปของดอกเบี้ยในอัตราที่แน่นอน
3.3 สถาบันที่ทำหน้าที่เกี่ยวกับการแลกเปลี่ยน
1. ธนาคาร คือ สถาบันการเงินที่มีความสำคัญต่อระบบเศรษฐกิจ โดนทำหน้าที่ส่วนใหญ่เกี่ยวกับการแลกเปลี่ยนเช่น บริการโอนเงิน บริการให้กู้ยืม บริการรับฝากเงิน บริการเกี่ยวกับการค้ำประกันบริการเกี่ยวกับการออกเอกสารเครดิตต่าง ๆ เป็นต้น
2. สถาบันการเงินอื่น ๆ คือ สถาบันการเงินที่นอกเหนือจากธนาคาร เช่น บริษัท เงินทุน บริษัทเครดิตฟองซิเอร์บริษัทเงินทุนหลักทรัพย์ ธุรกิจเหล่านี้ให้บริการส่วนใหญ่ เช่นเดียวกับธนาคารพาณิชย์
3. ผู้ค้าคนกลาง คือ ผู้ที่ทำหน้าที่เป็นคนกลางระหว่างผู้ผลิตกับผู้บริโภค ได้แก่ ผู้ค้าปลีกและผู้ค้าส่ง จำทำหน้าที่นำสินค้าจากผู้ผลิตจำหน่ายให้แก่ผู้บริโภค ทำให้ผู้ผลิตไม่ต้องนำสินค้าหรือบริการมาจำหน่ายเองโดยตรงกับผู้บริโภค เพราะผู้ค้าปลีกและผู้ค้าส่งซื้อสินค้าจากผู้ผลิตครั้งละเป็นจำนวนมาก ผู้บริโภคก็เกิดความสะดวกในการซื้อ ไม่ต้องเสียเวลาในการเดินทางไปซื้อสินค้าโดยตรงจากผู้ผลิต และไม่ต้องซื้อสินค้าหรือบริการครั้งละเป็นจำนวนมาก
4. ตลาด คือ สถานที่ที่ทำการติดต่อซื้อขายกันระหว่างผู้ซื้อกับผู้ขาย ซึ่งอาจจะติดต่อกันโดยตรง หรือติดต่อผ่านระบบการสื่อสารก็ได้

ทำเลที่ตั้ง

การเลือกทำเลที่ตั้งสถานประกอบธุรกิจ หมายถึง การจัดหาหรือสรรหาสถานที่ สำหรับประกอบธุรกิจให้มีประสิทธิภาพสูงสุด โดยคำนึงถึง กำไร ค่าใช้จ่าย พนักงาน ความสัมพันธ์กับลูกค้าความสะดวก ตลอดจนสภาพแวดล้อมต่าง ๆ ที่ดีตลอดระยะเวลาที่ประกอบธุรกิจนั้น
ความสำคัญในการเลือกทำเลที่ตั้งสถานประกอบธุรกิจ
การเลือกทำเลที่ตั้งสถานประกอบธุรกิจ มีความสำคัญต่อความสำเร็จขององค์การธุรกิจ กล่าวคือหากเลือกทำเลที่ไม่เหมาะสม จะทำให้องค์การธุรกิจ ประสบปัญหาอื่น ๆ ตามมา เช่น ค่าขนส่งสูง เนื่องจากสถานประกอบธุรกิจอยู่ไกลจากแหล่งวัตถุดิบ และตลาด นอกจากนี้ อาจขาดแคลนแรงงานที่มีคุณภาพ ขาดแคลนวัตถุดิบ รวมไปถึงปัจจัยอื่น ๆ ซึ่งเป็นอุปสรรคต่อการผลิต และการปฏิบัติงานขององค์การธุรกิจ โดยทั่วไปลักษณะของทำเล จะไม่มีลักษณะใด ที่ดีกว่ากันอย่างชัดเจน แต่จะเกิดจากการพิจารณาลักษณะดีของแต่ละทำเล นำมาประกอบกัน เพื่อการตัดสินใจเลือกที่ใช้ตั้ง สถานประกอบธุรกิจ ที่อาจก่อให้เกิดปัญหาในอนาคต ให้น้อยที่สุดการเลือกทำเลที่ตั้งสถานประกอบธุรกิจต่าง ๆ โดยทั่วไปมักจะพยายามหาแหล่ง หรือทำเลที่ทำให้ต้นทุนรวม ของการผลิตสินค้าและ บริการที่ต่ำที่สุดเท่าที่จะเป็นไปได้แต่ลักษณะของการประกอบธุรกิจและสถานที่ประกอบกิจการย่อมแตกต่างกันในเรื่องของชนิดสินค้า ค่าใช้จ่ายและการลงทุน ดังนั้นการพิจารณาเลือกทำเลจึงต้องคำนึงถึงปัจจัยต่าง ๆ หลายประการเพราะการเลือกทำเลที่ตั้ง มีความสำคัญต่อการ ดำเนินงานขององค์การธุรกิจต่าง ๆ เช่น การวางแผนระบบการผลิต การวางผังโรงงาน การลงทุน และรายได้ เป็นต้น

ปัจจัยในการเลือกทำเลที่ตั้งสถานประกอบธุรกิจ

ปัจจัยที่เป็นองค์ประกอบใช้ในการพิจารณาเลือกทำเลที่ตั้งสถานประกอบธุรกิจ มีดังนี้
1. แหล่งวัตถุดิบและทรัพยากรธรรมชาติ
การตั้งสถานประกอบธุรกิจ โดยเฉพาะองค์การธุรกิจประเภทอุตสาหกรรม ส่งที่นำมาใช้ในการผลิตคือ วัตถุดิบ เช่นโรงงานผลิตสับปะรดกระป๋อง วัตถุดิบ คือ อะไห่และชิ้นส่วนต่าง ๆ ของรถยนต์ โรงงานผลิตเฟอร์นิเจอร์ วัตถุดิบ คือ ไม้ ฯลฯ ดังนั้นในการจัดตั้งสถานประกอบการธุรกิจ จึงต้องคำนึงถึง แหล่งวัตถุดิบ ที่นำมาใช้ในการผลิต ควรจะอยู่ในแหล่งวัตถุดิบหรืออยู่ใกล้แหล่งวัตถุดิบ เพื่อสะดวกในการจัดหาวัตถุดิบราคาวัตถุดิบ และค่าขนส่งย่อมลดลง เช่น โรงงานผลิตปลากระป๋อง ควรตั้งอยู่ใกล้ ชายฝั่งทะเลจะได้วัตถุดิบราคาถูก คุณภาพดี แต่ถ้าโรงงานผลิตปลากระป๋อง ตั้งอยู่ไกลจากชายฝั่งทะเลมาก วัตถุดิบที่จัดหาอาจไม่มีหรือมีจำนวนน้อยทำให้วัตถุดิบราคาสูง คุณภาพไม่ดี และต้องเสียค่าขนส่งสูง เป็นต้น นอกจากนั้น ต้องคำนึงถึงทรัพยากรธรรมชาติด้วย เช่น น้ำ อากาศ เนื่องจากในการผลิต ส่วนประกอบที่สำคัญที่ใช้ในการผลิต ส่วนใหญ่ต้องอาศัยน้ำ กิจการประเภทโรงงานอุตสาหกรรมส่วนใหญ่ จึงตั้งอยู่ ใกล้แม่น้ำ หรือแหล่งน้ำต่าง ๆ เพื่อสะดวกในการนำน้ำมาใช้ในการผลิต
ในการตั้งสถานที่ประกอบการใกล้แม่น้ำ ต้องคำนึงถึงความรับผิดชอบต่อสภาพแวดล้อมด้วย เช่น ในการผลิตจะมีของเสียจากการผลิต โรงงานอุตสาหกรรม จะต้องมีระบบในการกำจัดน้ำเสีย ไม่ถ่ายเทน้ำเสียลงในแม่น้ำลำคลองหรือเปลี่ยนสภาพจากน้ำเสียให้เป็นน้ำดีก่อนที่จะ ถ่ายเทลงในแม่น้ำคลอง กรณีที่โรงงานอุตสาหกรรมเมื่อทำการผลิตแล้ว มีฝุ่นละอองหรือควันเสีย จะต้องทำการป้องกันมิให้อากาศเป็นพิษด้วย การประกอบการธุรกิจ ไม่ว่าจะเป็น ประเภท พาณิชยกรรม หรือประเภทอุตสาหกรรมการเลือกทำเลที่ตั้งสถานที่ประกอบการจะ ต้องคำนึงถึงแหล่งจัดซื้อ เพื่อให้การจัดซื้อได้สินค้า หรือวัตถุดิบราคา ที่เหมาะสม เสียค่าใช้จ่ายในการจัดซื้อต่ำ คุณภาพสินค้าหรือวัตถุดิบเป็นตาม ที่ต้องการ และได้ทันเวลาที่มีความต้องการของตลาด หรือการผลิต
การจัดซื้อเพื่อให้มีประสิทธิภาพ มีขั้นตอนดังนี้
1.1 กำหนดรายละเอียดของสินค้าหรือวัตถุดิบ ที่ต้องการซื้อทั้งคุณภาพและปริมาณ
1.2 สำรวจแหล่งขาย โดยผู้ประกอบการจะต้องทราบถึงแหล่งขายสินค้าหรือวัตถุดิบที่ต้องการจัดซื้อว่าอยู่ที่ใด มีผู้ขายกี่ราย แต่ละรายกำหนดราคาขายเท่าไร คุณภาพสินค้าหรือวัตถุดิบเป็นอย่างไร มีเงื่อนไขในการขายอย่างไรบ้าง เมื่อสำรวจแหล่งขายแล้ว คาดว่าจะจัดซื้อ จากผู้ขายรายใด ควรมีการเจรจาตกลง ในเรื่องต่าง ๆ เพื่อให้เกิดความชัดเจนในการจัดซื้อ ในกรณีจัดซื้อครั้งละเป็นจำนวนมาก การเจรจาระหว่าง ผู้จัดซื้อและผู้ขาย ควรจัดตั้งคณะกรรมการ เพื่อดำเนินการเป็นการป้องกันการทุจริตที่อาจจะเกิดขึ้นได้
1.3 การสั่งซื้อ หลังจากได้มีการเจรจาตกลงกันแล้ว ผู้จัดซื้อจัดทำใบสั่งซื้อ ซึ่งประกอบด้วยรายละเอียดต่าง ๆ ได้แก่ วัน เดือน ปี ที่สั่งซื้อ ราคาต่อหน่วย ราคารวม ชื่อเครื่องหมายการค้าของผู้จัดซื้อ ชื่อเครื่องหมายการค้าของผู้ขาย ระบุเงื่อนไขต่าง ๆ เช่น เงื่อนไขในการส่งมอบ เงื่อนไขในการชำระเงิน
1.4 การรับสินค้าหรือวัตถุดิบ เมื่อผู้ขายส่งสินค้าให้ผู้จัดซื้อ จะต้องมีใบกำกับสินค้าแสดงรายละเอียดเกี่ยวกับ วัน เดือน ปี ที่ส่งสินค้าหรือวัตถุดิบ ปริมาณสินค้าหรือวัตถุดิบ ราคาต่อหน่วย ราคารวม ชื่อเครื่องหมายการค้าของผู้ขาย ชื่อเครื่องหมายการค้าของผู้สั่งซื้อ ผู้จัดซื้อจะต้องตรวจสอบความถูกต้อง ของสินค้าหรือวัตถุดิบที่ได้รับให้ตรงตามใบสั่งซื้อและใบกำกับสินค้า
2. แหล่งแรงงาน
แรงงาน หมายถึง สิ่งที่ได้จากความสามารถของมนุษย์ทั้งแรงงาน ที่ได้จากแรงกายและแรงงาน ที่ได้จากความคิด เพื่อนำมาใช้ในการผลิตสินค้า และบริการ ตามที่ต้องการ แรงงานที่ผู้ประกอบการต้องการ แบ่งออกเป็น 2 ประเภท คือ
2.1 แรงงานที่มีฝีมือหรือแรงงานที่มีความชำนาญ (Skilled Labour)
2.2 แรงงานไร้ฝีมือ หรือแรงงานทั่วไป (Unskilled Labour)
ผู้ประกอบการจะมีความต้องการแรงงานประเภทใด จะรู้ได้โดยการจัดทำรายละเอียดหน้าที่ของตำแหน่งงานแต่ละตำแหน่ง ต้องการแรงงานจำนวนเท่าใด และเมื่อใด โดยการเสนอจากแต่ละหน่วยงานในองค์การธุรกิจ ในการจัดหาสถานที่ประกอบการ ต้องคำนึงถึง แหล่งแรงงานที่ธุรกิจมีความต้องการ ซึ่งควรจะเป็นแหล่งที่จัดหาแรงงานได้ง่าย อัตราค่าจ้างต่ำและมีคุณภาพตามที่ต้องการ เช่น ในการดำเนินกิจการโรงงานผลิตปลากระป๋อง แรงงานที่ต้องการใช้ส่วนใหญ่เป็นประเภทแรงกาย แรงงานไร้ฝีมือ สถานที่ประกอบการตั้งในต่างจังหวัดจะหา แรงงานได้ง่าย และอัตราค่าจ้างต่ำ แต่ถ้าเป็นโรงงานผลิตสินค้าที่ใช้เทคโนโลยีในการผลิตที่ทันสมัย แรงงานที่ใช้เป็นประเภทแรงงานที่ใช้ ความคิด แรงงานที่มีความชำนาญ สถานที่ประกอบการควรตั้งในเมืองใหญ่หรือใกล้เมืองใหญ่ จึงจะหาแรงงานได้ตามที่ต้องการ
3. ค่าใช้จ่ายในการขนส่ง
การเลือกสถานที่ประกอบการ จะต้องคำนึงถึงค่าใช้จ่ายในการขนส่ง ดังนี้
3.1 ค่าขนส่งวัตถุดิบไปยังโรงงานเพื่อทำการผลิต วัตถุดิบที่ใช้ผลิตส่วนใหญ่จะมีน้ำหนักมากและต้องใช้ในปริมาณที่สูงการเลือกสถานที่ประกอบการจึงควรอยู่ใกล้แหล่งวัตถุดิบเพื่อเสียค่าขนส่งในอัตราที่ถูก แต่ถ้าไม่ตั้งสถานที่ประกอบการใกล้แหล่งวัตถุดิบ ก็ควรพิจารณาระบบการขนส่งที่เหมาะสม เพื่อให้วัตถุดิบไปยังโรงงานอย่างมีประสิทธิภาพ และเสียค่าใช้จ่ายต่ำ
3.2 ค่าขนส่งสินค้าไปเพื่อเก็บรักษา เมื่อผลิตสินค้าเสร็จก่อนนำออกจำหน่ายสินค้าจะต้องได้รับการดูแลรักษา ในสภาพที่เหมาะสม เพื่อคุณภาพที่ดีของสินค้าสถานที่ประกอบการควรอยู่ใกล้คลังเก็บสินค้า เพื่อสะดวกในการขนสินค้าจากโรงงานไปเก็บรักษาในคลังสินค้า และเสียค่าใช้จ่ายต่ำ
3.3 ค่าขนส่งสินค้าออกจำหน่าย เพื่อความสะดวกของผู้บริโภค การเลือกสถานที่ประกอบการ ควรตั้งให้ใกล้แหล่งผู้บริโภค และประหยัดค่าใช้จ่าย
4. สิ่งอำนวยความสะดวกต่าง ๆ
การเลือกทำเลที่ตั้งสถานประกอบการ ควรคำนึงถึงสิ่งอำนวยความสะดวก ดังนี้
4.1 สาธารณูปโภค การเลือกสถานที่ประกอบการควรคำนึงถึงระบบการให้บริการด้านการประปา ไฟฟ้า โทรศัพท์ และการส่งไม่ว่าจะประกอบกิจการประเภท โรงงานอุตสาหกรรม หรือประเภทซื้อขายสินค้า เพราะเครื่องอำนวยความสะดวกดังกล่าว มีส่วนทำให้การประกอบธุรกิจมีความคล่องตัวสูง
4.2 สถานพยาบาล สถานีตำรวจ สถานีดับเพลิง การเลือกสถานที่ประกอบการควรคำนึงถึงสิ่งเหล่านี้ เพื่อความปลอดภัยและสะดวกในการขนส่งในการเดินทาง
5. แหล่งลูกค้า
สำหรับการประกอบกิจการประเภทโรงงานอุตสาหกรรม การจำหน่ายสินค้าจะจำหน่ายครั้งละเป็นจำนวนมาก ผู้มาซื้อคือ ผู้ค้าคนกลาง ดังนั้นจึงไม่จำเป็นต้อง เลือกสถานที่ตั้งใกล้ผู้บริโภคโดยตรง แต่ถ้าเป็นการประกอบกิจการประเภทผู้ค้าคนกลางที่ต้อง จำหน่ายสินค้าแก่ผู้บริโภคโดยตรง ควรเลือกสถานที่ตั้ง ใกล้ผู้บริโภค เพื่อความสะดวกในการจำหน่ายและเสียค่าขนส่งต่ำ
6. กฎหมาย ระเบียบและข้อบังคับ
การเลือกสถานที่ประกอบการจะต้องศึกษากฎหมาย ระเบียบและข้อบังคับต่าง ๆ ของสถานที่ประกอบการ เพื่อไม่ให้การประกอบการ นั้นขัดต่อกฎหมาย ระเบียบ ข้อบังคับหรือประเพณีอันดีงามของสถานที่นั้น เช่น ในประเทศไทย พื้นที่สีเขียวจะกำหนดไว้สำหรับการประกอบการ เกษตร จะตั้งโรงงาน อุตสาหกรรมในพื้นที่สีเขียวไม่ได้ เป็นต้น
7. แหล่งเงินทุน
การเลือกสถานที่ประกอบการต้องคำนึงถึงเงินทุนที่ต้องใช้ ได้แก่ ราคาที่ดิน อัตรา ค่าแรงงาน เครื่องจักร เครื่องมือ อุปกรณ์ต่าง ๆ ค่าธรรมเนียมและภาษี ที่ต้องจ่ายให้องค์การของรัฐใน การดำเนินการจัดตั้งสถานที่ประกอบการ ซึ่งค่าใช้จ่ายต่าง ๆ เหล่านี้ขึ้นอยู่กับการเลือกสถานที่ประกอบการทั้งสิ้น จากปัจจัยต่าง ๆ ดังกล่าวข้างต้น มีผลกระทบต่อการตัดสินใจเลือกสถานที่ประกอบการ โดยผู้ประกอบการควรคำนึงถึงผลตอบแทน ที่คาดว่าจะได้รับจาก การตัดสินใจเลือกสถานที่ใดเป็นสถานที่ประกอบ โดยคำนึงถึงสิ่งต่าง ๆ ต่อไปนี้
7.1 ต้นทุนหรือค่าใช้จ่ายรวมต่ำสุด การตัดสินใจเลือกสถานที่ใดเป็นสถานที่ประกอบการ ต้องคำนึงถึงต้นทุนหรือค่าใช้จ่ายที่ เกิดขึ้นในการเลือก สถานที่นั้น เป็นสถานประกอบการ เช่น การประกอบการโรงงานผลิตไม้แปรรูป วัตถุดิบที่ใช้ในการผลิตไม้แปรรูป คือ ซุงซึ่งเป็นวัตถุดิบมีน้ำหนักมาก การขนส่งค่อนข้าง ยุ่งยากและเสียค่าใช้จ่ายสูง ส่วนสินค้าสำเร็จรูป คือ ไม้แปรรูปมีน้ำหนักเบากว่าวัตถุดิบ การขนส่งค่อนข้างสะดวก และเสียค่าใช้จ่ายต่ำกว่า สถานที่ประกอบกา รโรงงานผลิตไม้แปรรูป จึงควรตั้งใกล้แหล่งวัตถุดิบมากกว่าตั้งใกล้ ผู้บริโภค เพราะจะทำให้เสียค่าขนส่งที่ถูกกว่า กรณีหาสถานที่ประกอบการในแหล่งวัตถุดิบ ไม่ได้ก็ควรหาสถานที่ตั้งใกล้แม่น้ำ เนื่องด้วยการขนส่ง ซุงสามารถใช้วิธีล่องซุงมาตามแม่น้ำ ทำให้เสียค่าขนส่งต่ำ นอกจากต้นทุนค่าขนส่งแล้ว ต้นทุนหรือ ค่าใช้จ่ายที่จะต้องนำมาประกอบการตัดสินใจ เลือกสถานที่ประกอบการ ได้แก่ ค่าแรงงาน อัตราภาษี ค่าบริการต่าง ๆ
7.2 กำไรที่สูงสุด การตัดสินใจเลือกสถานที่ใดเป็นสถานที่ประกอบการ นอกจากคำนึงถึงต้นทุนหรือค่าใช้จ่ายที่ต่ำที่สุดแล้ว ควรคำนึงถึงรายรับประกอบการ ตัดสินใจด้วย หากสามารถตั้งสถานประกอบการ ในแหล่งที่ต้นทุน หรือค่าใช้จ่ายรวมต่ำกว่า ก็จะมีโอกาสหา รายรับได้มากกว่าคู่แข่ง จะทำให้ได้เปรียบ คือ กำไรสูงสุด
7.3 การเรียนลำดับปัจจัยต่าง ๆ ตามความสำคัญ เนื่องจากปัจจัยแต่ละปัจจัยมีความสำคัญแตกต่างกันไป ขึ้นอยู่กับประเภทของการประกอบการแต่ละประเภท ดังนั้นผู้ประกอบการจึงต้องจัดลำดับความสำคัญ และรวมคะแนนแล้วจึงตัดสินใจเลือกสถานที่ประกอบธุรกิจจากการพิจารณาคะแนนที่สูงสุด
EJ

การขนส่ง

ความรู้เบื้องต้นเกี่ยวกับการขนส่ง

ความรู้เบื้องต้นเกี่ยวกับการขนส่ง

"ขนส่ง" หมายถึง การขนและการส่ง หรือการนำไปและนำมาได้แก่ การขนส่งสิ่งของหรือสัตว์ที่ไม่สามารถจะเคลื่อนตัวเองได้ จากจุดหนึ่งเพื่อส่งไปยังจุดหมายปลายทางที่ต้องการ ในขณะที่การนำไปและนำมา คือนำคน-มนุษย์หรือผู้โดยสารที่สามารถเคลื่อนย้ายตัวเองได้ตามเครื่องหมาย สากล ไปยังจุดหมายปลายทางได้ การขนส่งที่เราจะศึกษาต่อไปจะหมายถึงการเคลื่อนย้ายผู้โดยสารและส่งของเพื่อ เพิ่ม ความพึงพอใจในการเปลี่ยนสถานที่
องค์ประกอบที่สำคัญของการขนส่ง ได้แก่

1. เส้นทาง (WAY)
2. สถานี (TERMINAL)
3. พาหนะ (CARRYING UNIT)
4. เครื่องขับเคลื่อน (MOTIVE POWER)

1. เส้นทาง (WAY) หมายถึงปัจจัยพื้นฐานที่จะรองรับพาหนะในการเคลื่อนที่จากจุดหนึ่งไปยังอีก จุดหนึ่ง แบ่งออกเป็น
1.1 ประเภทของทาง
ก. ทางธรรมชาติ เกิดขึ้นเอง ได้แก่ ลำน้ำ ทางเดินในป่า เขา ท้องฟ้า
ข. ทางธรรมชาติ ที่ได้รับการปรับปรุง ได้แก่ ลำน้ำธรรมชาติ ที่ต้องขุดลอกเนื่องจากเรือไม่สามารถจะผ่านไปได้
ค. ทางมนุษย์สร้างขึ้น ได้แก่ ถนนลอยฟ้า ถนนใต้ดิน หรือการขุดอุโมงค์ผ่านภูเขาหรือใต้ช่องแคบ เพื่อให้รถหรือรถไฟผ่านไปมาได้

1.2 สิทธิในทาง (เจ้าของ) เนื่องจากส่วนใหญ่ไม่ว่าบก น้ำ อากาศ เช่น ถนน จะเกิดขึ้นได้เมื่อเกิดการลงทุนทั้งจากเอกชน หรือรัฐบาล ดังนั้น ถ้าถนนนั้นใช้เงินจากภาษีและค่าธรรมเนียมในการจัดสร้างถนนก็ควรเป็นถนน สาธารณะ ผู้ใช้ถนนก็ควรจะเป็นผู้จ่ายเงินบำรุงรักษาสภาพของถนนในรูปของภาษีรถยนต์ ประเภทต่าง ๆ และภาษีน้ำมัน

ปัจจุบันเอกชนผู้หวังกำไรจากธุรกิจสร้างถนนยกระดับหรือทางด่วน ได้จัดสร้างถนนเหล่านี้ให้สาธารณชนใช้ โดยผู้ใช้ทางเหล่านี้ต้องจ่ายเงินเป็นค่าจัดทำ ค่าบำรุงรักษาทาง และกำไรแก่ผู้สร้าง การจ่ายเงินอาจจะคิดจากประเภทของพาหนะหรือระยะทาง ฯลฯ

1.3 การควบคุมการใช้ทาง ผู้จัดการทางจะต้องจัดหาเครื่องหมายแสดงเครื่องหมายจราจรตามกฎระเบียบ ของแต่ละสังคมเพื่อบังคับให้ผู้ใช้ทางปฏิบัติตาม เพราะถ้าผู้ใช้ทางไม่สามารถปฏิบัติตามได้ย่อมก่อให้เกิดการขัดข้อง ในการใช้ทางร่วมกันหรือที่เรียกว่า "อุบัติเหตุ" ดังนั้นในการขั้นหรือลงของเครื่องบินจึงต้องมีเครื่อง เรดาร์ควบคุมการจราจรทางอากาศ เครื่องหมายในการควบคุมการใช้ทางร่วมกัน อาจจะอยู่บนทาง หรือเหนือทาง เช่น เส้นแบ่งช่องถนน หรือป้ายบอกลักษณะของทาง

1.4 ลักษณะเฉพาะของทางชนิดต่าง ๆ
ก. ถนน ถนนส่วนใหญ่จะเป็นถนนสาธารณะ ผู้ใช้ถนนไม่ต้องจ่ายเงินเมื่อใช้ แต่ถ้าเป็นถนนยกระดับหรือสะพาน ผู้ใช้จะต้องจ่ายค่าใช้ทาง ถนนส่วนใหญ่จะมีขอบข่ยกว้างขวางและเชื่อมโยงกับเส้นทางอื่น เช่น รถไฟ เรือ เครื่องบิน โดยผ่านสถานีผู้โดยสารหรือสถานีสินค้า นอกจากนี้ ถนนยังมีคุณสมบัติเหนือทางอื่น ๆ ตรงที่เป็นบริการประเภท "ประตูสู่ประตู" ไม่ว่าจะส่งสินค้าหรือผู้โดยสาร เช่นการใช้บริการแท็กซ่ วิทยุ ที่สามารถรับผู้โดยสารจากบ้าน (ประตูรั้ว) ไปยังประตูที่ทำงาน พาหนะที่วิ่งอยู่บนถนนต่างเป็นอิสระไม่ขึ้นแก่กัน การที่รถคันหน้าเสีย (ตาย) บนถนนก็ไม่อาจทำให้พาหนะคันอื่น ๆ หยุดได้ พาหนะคันอื่น ๆ จะหลบจากเส้นทางแล้วเลือกใช้ทางอื่นต่อไป

ถนนจะมีอายุยืนยาวมากแค่ไหนขึ้นอยู่กับการบำรุงรักษาและการใช้งานถนนแต่ละ สายมีความสามารถในการ รับน้ำหนักจากการบรรทุกไม่เท่ากัน ดังนั้น ถ้าจะรักษาอายุของถนนให้ยืนนานจะต้องปฏิบัติตามกฎระเบียบ การใช้ถนน ถ้าผู้ใช้ถนนคิดว่าควรรับน้ำหนักเพิ่มขึ้นก็ ควรจัดสร้างถนนให้รับน้ำหนักที่ต้องการได้เพราะต้อง การเงินลงทุนที่สูงกว่ามากในปัจจุบันมาก การบรรทุกเกินน้ำหนัก จะทำให้ถนนมีอายุสั้นกว่าการใช้งาน และยัง ทำให้ผู้ใช้ทางร่วมไม่ได้รับความสะดวกจากความเสื่อมถนน จะต้องเป็นผู้รับภาระภาษีที่จะต้องนำไปซ่อมแซมถนน ตลอดจนค่าซ่อมแซมพาหนะที่เสียหายเมื่อผ่านถนนที่พิการ เหล่านี้

ปัญหาที่เกิดขึ้นจากพาหนะที่ใช้ถนนในปัจจุบัน คือสภาพแออัดที่เกิดขึ้นจากความต้องการใช้พื้นที่ถนนมากกว่าพื้นที่ถนน โดยเฉพาะในช่วงเวลาเร่งด่วน หรือเมื่อเกิดฝนตกน้ำท่วมขัง (ใน กทม.) เพื่อหนีปัญหาดังกล่าว จึงเกิดระบบ one way ช่องทางพิเศษ การห้ามจอด ระบบไฟจราจรคอมพิวเตอร์ แต่ปัญหาสภาพจราจรติดขัดนั้น ไม่อาจแก้ได้จากเครื่องมืออิเล็กโทรนิคเพียงอย่างเดียว จะต้องได้รับความร่วมมือจากผู้ใช้รถ ถนน และเจ้าหน้าที่ตำรวจที่เข้าใจระบบจราจรจริง ๆ

ข. ราง เส้นทางรางเริ่มขึ้นจากเส้นหลักคู่ขนานกันไปตาม ช่องห่างของรถไฟที่อยู่ข้างบน และเมื่อต้องการจะให้รถอีกขบวนผ่านไปต้องทำรางคู่แยกไปแล้วกลับเข้ามาใหม่ เรียกว่าระบบหลักปัจจุบัน กิจการรถไฟในหลาย ๆ ประเทศได้ใช้ระบบรางคู่ โดยไม่ต้องหลีกกันอีกต่อไป

ความเร็วของรถไฟประเภทเหล็ก 2 ข้าง (คู่) ขึ้นอยู่กับความห่างของราง ยิ่งรางกว้างความเร็วยิ่งไปได้สูงขึ้น รถรางสมัยใหม่มีเพียง 1 ราง ส่วนใหญ่จะวิ่งอยู่เหนือถนน ดังเช่น รถไฟฟ้า กรุงเทพมหานคร

ระบบรางมีข้อเสียเปรียบตรงที่ไม่สามารถขนส่งผู้โดยสารหรือสินค้าได้จากประตูสู่ประตู และความล่าช้าเพราะต้องจอดบ่อย ๆ จนทำให้ไม่สามารถแข่งกับระบบถนนในระยะทางขนาดกลางได้ แต่ถ้ายิ่งไปไกลระบบรางจะได้เปรียบมาก

ค. ทางน้ำ (คลอง แม่น้ำ) ส่วนมากเกิดขึ้นตามธรรมาชาติและล่องน้ำที่ได้ปรับปรุงแล้ว เพื่อให้เดินเรือได้สะดวกพื้นน้ำ ไม่ต้องซ่อมแซมเหมือนถนนแต่จะต้องจัดให้มีพอที่จะให้พาหนะ (เรือ) วิ่งได้ทุกฤดูกาล ทั้งคู คลอง แม่น้ำ จะต้องได้รับการดูแลร่องน้ำและเขื่อนริมฝั่งน้ำ การขนส่งทางน้ำเป็นทางเลือกในการขนส่งอีกทางหนึ่งที่มีราคาถูก แต่ช้า จึงเหมาะแก่การขนส่งสินค้าที่มีน้ำหนักมาก เช่น ทราย ข้าว

ง. ทางน้ำ (ทะเล มหาสมุทร) ทะเล มหาสมุทร เป็นทางน้ำที่ดีที่สุดของเส้นทางน้ำอื่น ๆ เป็นทางน้ำที่สามารถเชื่อมระหว่างพื้นดิน ทวีป เช่น ทวีปเอเชียกับอเมริการเหนือ ใต้ เนื่องจากปริมาณน้ำที่มากและมีอาณาเขตที่กว้างไกล ทำให้พาหนะเรือเดินสมุทร สามารถใช้ความเร็วสูง ๆ ขนาดที่ใหญ่จนสามารถจุสนามบอล สระน้ำโอลิมปิค การขนส่งทางทะเลจึงเหมาะสำหรับสินค้าและคนโดยสารที่มีเวลาหาความสำราญในเรือได้นาน ๆ

จ. ทางอากาศ น่านฟ้าทั่วโลกที่ไม่มีขัดแย้งทางด้านการเมืองเป็นเส้นทาง ที่เกือบจะไร้พรหมแดนของการเดินทางทางอากาศ ถึงแม้จะเป็นการขนส่งผู้โดยสารและสินค้าที่มีราคาแพงเมื่อเทียบกับการขนส่งชนิดอื่น ๆ แต่ก็สามารถชดเชยได้รับความสะดวกสบาย ความรวดเร็ว และปลอดภัยมากที่สุด

ฉ. ทางท่อ เป็นการขนส่งสินค้าที่เป็นของเหลวหรือกึ่งของเหลว เช่น น้ำ แก๊ส น้ำมัน การขนส่งทางท่อมักจะฝังอยู่ใต้ดิน ป้องกันการรั่วไหลแต่ต้องเผชิญกับการเปลี่ยนแปลงทางอุณหภูมิ อย่างไรก็ตาม การขนส่งทางท่อสามารถทำได้สะดวก แต่การลงทุนสูงกว่าการขนส่งประเภทอื่น ๆ

2. สถานี 
2.1 หน้าที่ เนื่องจากการขนส่งสินค้าหรือผู้โดยสารโดยพาหนะประเภทต่าง ๆ ไม่สามารถวิ่งไปโดยไม่มีจุดหมายได้ และเมื่อถึงจุดหมายแล้วสถานีจะมีหน้าที่ดังต่อไปนี้
ก. ให้บริการแก่พาหนะต่าง ๆ ตามความต้องการเฉพาะด้าน เช่น เติมน้ำมันเชื้อเพลิง เปลี่ยนสิ่งอำนวยความสุขต่าง ๆ ในพาหนะ เช่น ของใช้ในห้องสุขา จัดเสบียงอาหารที่จะต้องใช้ตลอดเส้นทางการเดินทาง ตลอดจนการตรวจสภาพของพาหนะและเครื่องขับเคลื่อน
ข. ให้มีการเปลี่ยนพาหนะตามเส้นทาง และเปลี่ยนชนิดของพาหนะ เช่นการเปลี่ยนรถเมล์ใน กทม. ไปใช้รถ บขส. เพื่อเดินทางไปต่างจังหวัด หรือเครื่องบินระหว่างประเทศ เป็นเครื่องบิรภายในประเทศ หรือเปลี่ยนจากเครื่องบินมาเป็นรถเมล์หรือรถแท๊กซี่
ค. อำนวยความสะดวกแก่การจราจรทุก ๆ ด้าน เช่น การจัดที่จอดรถ เครื่องบิน เรือ เพื่อให้รับบริการอันพึงมี แล้วจัดระบบการรับ-ส่ง ผู้โดยสารและสินค้า เพื่อให้เกิดกระแสไหลของพาหนะได้สะดวกรวดเร็วและปลอดจากภัย

นอกจากหน้าที่ที่ควรให้แก่พาหนะต่าง ๆ ที่มาใช้บริการสถานีข้างต้นแล้ว สถานียังมีหน้าที่ต่อผู้รับบริการ เช่น ผู้โดยสารและสินค้า/สิ่งของ ดังต่อไปนี้

ก. ขนถ่าย ผู้โดยสาร/สิ่งของ ขึ้น-ลง ยานพาหนะระหว่างขนส่ง ซึ่งต้องอาศัยเครื่องอำนวยความสะดวกต่าง ๆ ที่ต่อเนื่องจากการขนถ่ายด้วย
ข. เชื่อมโยง ระหว่างยานพาหนะของการขนส่งระบบเดียววัน/ต่างระบบสินค้า/ผู้โดยสาร จะต้องใช้ยานพาหนะมากกว่า 1 ระบบ ในการเดินทางจากจุดหนึ่งไปยังจุดหนึ่ง สถานึจึงเป็นจุดเชื่อมที่สะดวกสบายที่สุด
ค. รวบรวม ปริมาณขนส่งของผู้โดยสาร/สิ่งของ เพื่อให้มีปริมาณเหมาะสมแก่ขนาดของยานพาหนะ ตัวอย่างเช่น รถจักรยายส่งผู้โดยสารที่ป้ายรถเมล์เล็กในหมู่บ้าน รถเมล์เล็กนำกลุ่มผู้โดยสารไปส่งที่ปากซอย (ถนนใหญ่) เพื่อขึ้นรถ ขสมก. หรือรถ บขส.
อนึ่ง ระยะเวลาของการขนถ่าย-เชื่อมโยง และรวบรวมผู้โดยสาร/สิ่งของ/สัตว์ ไม่เหมือนกัน จึงต้องมีการตกค้างของคน สัตว์ และสิ่งของ ที่ต้องการบริการต่อเนื่องมากมาย เช่น บริการการขนส่งข้อมูล-ข่าวสาร ที่นั่ง การบริการด้านอาหาร ห้องน้ำ ตลอดจนบริการอื่น ๆ ที่จะทำให้ผู้บริการได้ใช้เวลารอคอยได้อย่างเป็นสุข
2.2 สถานที่ตั้งสถานี ควรอยู่ในที่ ๆ สะดวกแก่ผู้โดยสารและสินค้า ดังนั้น จึงควรอยู่ใกล้ชุมชน เช่น ในเมือง ศูนย์การค้า หรือชานเมือง จึงมีสิ่งอำนวยความสะดวกครบสำหรับผู้โดยสารและเครื่องมือในการขนถ่ายสินค้า ต่าง ๆ อย่างไรก็ตาม การตั้งสถานีไม่ควรเพิ่มความแออัด จราจร แก่ท้องถิ่น และควรมีขนาดที่เหมาะสม และไม่เพิ่มสภาพแวดล้อมที่เป็นพิษแก่ชุมชน
3. ยานพาหนะ เปรียบเสมือนโรงงานหรือบ้านที่สามารถเคลือนที่ได้ตามเครื่องขับเคลื่อน ที่เหมาะสมกับความต้องการใช้และขนาดของยานพาหนะ

 
หลักสำคัญที่แบบ (Model) ยานพาหนะควรเป็นคือ
ก. ตอบสนองตลาดให้มาก กว้างที่สุด
ข. ให้เหมาะกับชนิดของทางแต่ละชนิด
ค. เหมาะกับปริมาณการขนส่งผู้โดยสาร/สินค้า
ง. เหมาะกับสภาพแวดล้อมของการใช้งานมากที่สุด
จ. คนผลิตแบบ MASS PRODUCTION ในราคาถูกสุด
3.1 ยานพาหนะทางถนน
ก. รถโดยสาร รถจักรยาน รถจักรยานยนต์ รถสามล้อเครื่อง รถเมล์สองแถว รถเมล์เล็ก รถเมล์ ขสมก./บขส. รถแวนส์ รถแท็กซี่ รถตู้ รถยนต์ รถเมล์เลขทะเบียน 10 หรือ 30 ฯลฯ ยานพาหนะทางบกนี้ ต่างออกแบบเพื่อใช้กับระยะทาง ปริมาณขนส่ง และความสะดวกสบายต่าง ๆ กัน
ข. รถบรรทุกสินค้า ได้แก่ รถกระบะ รถสิบล้อ รถสิบล้อพ่วง รถกึ่งพ่วง รถบรรทุกของเหลวต่าง ๆ รถบรรทุกปูนผสม ฯลฯ ต่างได้รับการออกแบบให้เหมาะกับสภาพถนนและน้ำหนักบรรทุก ในสภาพจราจรปัจจุบันรถบรรทุกสินค้าเหล่านี้ต้องเผชิญกับเวลาวิ่งเฉพาะบางช่วงเวลาเท่านั้น
ค. รถประเภทล้อเลือ่นอื่น ๆ ได้แก่ รถเข็นอาหาร น้ำ และรถสามล้อถีบที่ใช้ในการบรรทุกทั้งสินค้าและผู้โดยสาร
3.2 ยานพาหนะทางราง
รถไฟหรือรถรางเหมาะสำหรับในเมือง ชานเมือง และระยะไกล เพราะมีต้นทุนต่อหน่วยต่ำ ให้บริการได้ครั้งละมาก ๆ สามารถปรับตัวตามปริมาณการขนส่งได้ง่ายโดยการลดหรือเพิ่มรถพ่วง มีความสะดวกสบายและความปลอดจากภัยสูง
รถไฟรางคู่ เหมาะสำหรับเดินทางไกล และสามารถจะใช้ความเร็วได้สูงมาก ถ้าหากมีช่องห่างของรางมากด้วย ส่วนใหญ่ช่องห่างจะอยู่ระหว่าง 1.07 เมตร ถึง 3 เมตร
รถรางเดี่ยว เหมาะสำหรับการวิ่งชานเมือง เพราะกินที่น้อย ราคาถูกกว่ารถไฟใต้ดิน แต่ทำลายทัศนียภาพของเมือง
รถราง เหมาะสำหรับวิ่งในเมืองเพราะสามารถใช้ทางร่วมกับยานพาหนะและผู้ใช้ถนนอื่น ๆ
3.3 พาหนะทางน้ำ
ก. พาหนะทางน้ำ ได้แก่เรือที่วิ่งในแม่น้ำลำคลองต้องออกแบบให้เหมาะสมกับความกว้างและลึกของ น้ำ ซึ่งจะใช้เป็นเรือสินค้าหรือเรือโดยสารได้เหมือนกับรถที่วิ่งบนถนน เรือส่วนใหญ่ที่ใช้ในแม่น้ำลำคลองจะเล็กกว่าและแตกต่างจากเรือที่วิ่งใน มหาสมุทร อย่างไรก็ตาม แม่น้ำที่อยู่ใกล้ทะเลที่มีความลึกใกล้กับทะเล เรือที่วิ่งอยู่ก็สามารถวิ่งได้ทั้งในแม่น้ำและมหาสมุทรได้
ข. พาหนะทางทะเล เรือที่วิ่งอยู่ในทะเล มหาสมุทร ส่วนใหญ่มุ่งสู่การค้าระหว่างประเทศ ไม่ว่าด้านสินค้าหรือบริการ ดังนั้น จึงมีขนาดใหญ่มาก และต้องใช้เงินลงทุนสูง เรือต่าง ๆ ถูกสร้างขึ้นตามวัตถุประสงค์ของการใช้
3.4 ยานพาหนะทางอากาศ เครื่องบินเป็นตัวอย่างหนึ่งของอากาศยาน นอกจากนี้ยังมีเฮลิคอปเตอร์ฯลฯ เครื่องบินมีข้อได้เปรียบกว่ายานพาหนะอ่น ๆ คือ บินได้เร็ว ทำให้เวลาในการเดินทางลดลง สามารถบินผ่านสถานที่ทุรกันดารที่เรือและรถเดินทางไปไม่ได้ และเนื่องจากท้องฟ้ามีอาณาเขตกว้างไกล ทำให้ความถี่ของเที่ยวบินสูง ทำให้มีโอกาสเลือกเวลาเดินทางได้ และในปัจจุบันต้นทุนต่อหน่วยผลิตลดลงมาก เมื่อขนาดบรรจุเพิ่มสูงขึ้น เช่น 500 คนต่อลำ นอกจากนี้เครื่องบินยังเป็นพาหนะที่ปลอดภัยที่สุดและไว้ใจได้มากที่สุดด้วย

องค์ประกอบในการผลิตบริการขนส่ง
บริการขนส่งเป็นบริการต่อเนื่อง เกิดขึ้นจากความต้องการของผู้โดยสารที่ต้องการจะย้ายตัวเองไปอยู่ ณ อีกแห่งหนึ่ง เป็นการเปลี่ยนสถานที่ หรือต้องการจะให้สินค้า/ของที่เขาเป็นเจ้าของย้ายจากที่หนึ่งไปยังอีกที่ หนึ่ง องค์ประกอบในการให้บริการขนส่งได้แก่
1. ยานพาหนะ
2. เส้นทางทียานพาหนะใช้
3. สถานประกอบการที่ผู้ใช้บริการต้องมาติดต่อ
4. สถานี รับ-ส่ง หรือขน-ถ่าย หรือจอด
5. บุคลากรประจำยานพาหนะ สถานประกอบการและสถานี
6. ผู้ประกอบการขนส่ง และการประกอบการและสถานี
7. กฎระเบียบการขนส่งภายใน และระหว่างประเทศ

1. ยานพาหนะ เมื่อผู้บริโภคหรือผู้ประกอบการเลือกพาหนะได้ตามความพึงพอใจของตนเองทั้งด้านวิชาการและปฏิบัติอื่น ๆ แล้ว ก่อนจะตัดสินใจซื้อยานพาหนะ สิ่งที่ควรศึกษา ได้แก่
1.1 บริการก่อนหลังการขาย และช่วงระหว่างการประกัน ตลอดจนค่าใช้จ่ายที่เกี่ยวข้อง
1.2 ข้อปฏิบัติตามกฏระเบียบของราชการของการนำยานพาหนะไปใช้ทั้งส่วนบุคคลและเชิงพาณิชย์
1.3 การทำนุบำรุงรักษาเพื่อให้ยานพาหนะมีอายุงานที่ควรเป็น
1.4 สถานที่เก็บ-รักษา (จอด) ยานพาหนะ
1.5 การประกันภัยประเภทต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้อง
1.6 รายได้เมื่อเทียบกับต้นทุนโดยรวม

2. เส้นทาง ที่ยานพาหนะจะต้องใช้ โดยปกติถ้าเป็นรถส่วนบุคคลทุกเส้นทางที่เป็นทางสาธารณะหรือทางเอกชนแต่ดำเนินการ เพื่อสาธารณะก็มีสิทธิใช้ได้ เนื่องจากได้มีเครื่องหมายแสดงสิทธิในการวิ่ง (จากการจ่ายค่าธรรมเนียม/ภาษียานพาหนะ)
แต่ถ้าเป็นยานพาหนะที่จะใช้วิ่งเป็นประจำหรือไม่ประจำจะต้องมีการปฏิบัติตาม การจัดระเบียบการขนส่งประเภทต่าง ๆ ให้ถูกต้องตามกฎหมาย การจะได้มาซึ่งสิทธิในการใช้เส้นทางหนึ่งเส้นทางใดมาผลิตบริการเพื่อขายใน เชิงพาณิชย์นั้น บางครั้งอาจจะต้องเกี่ยวข้องกับกิจกรรมทางการเมือง เนื่องจากมีผลประโยชน์ชิ้นโตตอบแทนผู้มีโอกาสได้ใช้เส้นทาง เหล่านั้นในเชิงพาณิชย์

3. สถานประกอบการ หรือสำนักงานการบริการ หรือสำนักงานขาย ผู้ประกอบการเล็ก ๆ อาจมีเพียงโต๊ะเล็ก ๆ ในศูนย์การค้าหรือชุมชนใหญ่ ๆ หรือมีอาคารเฉพาะเพื่อใช้เป็นที่ดำเนินการที่เกี่ยวข้องกับการผลิต บริการขายและใช้ติดต่อกับผู้ใช้บริการ/ผู้โดยสาร ในปัจจุบันสถานที่ติดต่อกับผู้ใช้บริการอาจไม่สำคัญเท่าระบบการ ติดต่อสื่อสารกับผู้ใช้บริการ ทั้งโทรศัพท์ โทรสาร และที่สามารถติดต่อได้ทั่วโลก

4. สถานีรับ-ส่ง หรือ ขน-ถ่าย หรือจอด ไม่มียานพาหนะใด ๆ ที่จะเคลื่อนที่ไปโดยไร้จุดหมายเมื่อถึงจุดมุ่งหมายแล้ว ย่อมมีการจอดชั่วคราว หรือการจอดประจำเพื่อบำรุงรักษา และตรวจสอบสภาพของยานพาหนะ ตลอดจนจัดเตรียมของที่จำเป็นต่อยานพาหนะให้ดีพร้อมที่จะให้บริการแก่ผู้ โดยสารต่อไป จุดจอดเหล่านี้ได้แก่ สถานีรับส่ง ขนถ่าย จอด ซึ่งอาจจะเป็นจุดจอดบังคับตามกฎหมาย/ระเบียบ/ข้อตกลง

5. บุคคลากรประจำยานพาหนะ สถานประกอบการและสถานี การบริการการขนส่งหรือขนถ่ายไม่อาจดำเนินไปได้หากไม่มีบุคคลากรเข้าไป ปฏิบัติการ ทุกสถานีประกอบการใหญ่เล็ก ย่อมต้องมีบุคลากรประจำงานด้านติดต่อกับภายนอกสถานประกอบการ เช่น หน่วยราชการ บริการ/สิ่งของอื่นที่เกี่ยวข้องและที่สำคัญที่สุดคือ ผู้ใช้บริการคือผู้โดยสาร ผู้ประกอบการหรือผู้บริหารจะต้องเลือกบุคลากรให้เหมาะแก่/กับงานที่ต้องทำ ดังนั้น เพื่อให้งานดำเนินไปได้อย่างราบรื่น ต้องใช้บุคคลากรที่มีมนุษยสัมพันธ์ดีเป็นหลัก ในขณะที่งานประจำสถานประกอบการ ก็ต้องเลือกคนให้ถูกกับงาน เช่น งานบัญชี การเงิน ต้องหาคนซื่อสัตย์สุจริต

พนักงานหรือบุคลากรประจำรถซึ่งเป็นผู้ผลิตบริการการขนส่งโดยตรง มีความสำคัญมากต่อเจ้าของกิจการและผู้ใช้บริการ เช่น พนักงานขับรถจะต้องพาสิ่งของ/ผู้โดยสารไปยังจุดหมายอีกจุดหนึ่งได้โดยปลอดจากภัยต่าง ๆ และตรงเวลานัดหมายพอใช้พอดี ในกิจการขนส่งใหญ่ ๆ พนักงานขับรถจะมีหน้าที่ขับยานพาหนะอย่างเดียว แต่ในกิจการเล็ก ๆ พวกเขาอาจรับผิดชอบการขับ ความสะอาด และการทำนุบำรุงยานพาหนะ ส่วนพนักงานอื่น ๆ ประจำรถนั้น อาจมีเพิ่มได้ตามบริการอื่น ๆ นอกเหนือจากการขนส่งที่จะใช้บริการเพิ่มเติม เช่น อาหาร ในยานพาหนะใหญ่ เช่น เครื่องบิน เรือเดินสมุทร อาจจะต้องมีพนักงานมากถึง 20-50 คนก็ได้ ขึ้นอยู่กับระบบอัตโนมัติที่ติดตั้ง

บริการที่ผู้ใช้จะได้รับความประทับใจหรือไม่ขึ้นอยูกับปัจจัยที่เป็นมนุษย์เหล่านี้ คุณสมบัติของบุคคลในบริการขนส่ง Mode ต่าง ๆ ดูเหมือนจะแปรไปตามผลตอบแทนที่ได้รับ เช่น พนักงาน ขับเครื่องบิน เรือเดินสมุทรจะได้รับค่าตอบแทนสูงกว่ารถประจำทาง

ในความเป็นจริงบุคลากรในบริการขนส่งประเภทต่าง ๆ ได้รับค่าตอบแทนต่างกันมากจนทำให้เหลือบุคคลที่มีคุณสมบัติ ด้อยกว่าที่ควรจะเป็นในการให้บริการการขนส่ง เช่น พขร. เทียบกับ กัปตันเครื่องบิน อนึ่ง บุคลากรที่อยู่ในธุรกิจขนส่งส่วนใหญ่มักจะมีเส้นทางชีวิต ไม่ราบรื่นนัก โดยเฉพาะในองค์กรเล็ก ๆ ตัวอย่างเช่น จากทำงานเด็กท้ายรถขึ้นไม่เป็น พขร. แล้วก็คงจอด อยู่นานกว่าจะได้เป็นเจ้าของรถ หรือโอกาสที่กัปตันเครื่องบินจะได้เป็นผู้อำนวยการใหญ่

บุคคลในธุรกิจขนส่ง ได้รับค่าตอบแทนโดยเปรียบเทียบกับในธุรกิจอื่น ๆ ยังต่างกันมากและยิ่งมีการกำหนดราคาขั้นสูงให้กับบริการขนส่ง เช่น ค่ารถเมล์ ขสมก./บขส. ยิ่งจะทำให้มีการไหลออกของคนในอุตสาหกรรมขนส่งต่าง ๆ ไปอยู่กับอุตสาหกรรมที่ใช้ขนส่งเป็นองค์ประกอบด้วย

6. ผู้ประกอบการขนส่ง และการประกอบการขนส่ง ผู้ประกอบการขนส่งและการประกอบการขนส่ง หมายถึง ผู้ที่จะผลิตบริการขนส่งให้แก่ผู้ต้องการใช้บริการการขนส่งได้แก่
6.1 ผู้ประกอบการขนส่งสาธารณะ
6.2 ผู้ประกอบการขนส่งตามสัญญา
6.3 ผู้ประกอบการขนส่งส่วนบุคคล
6.4 ผู้รับจัดการขนส่ง
6.5 ผู้ประกอบการสถานีขนส่ง

7. กฎระเบียบการขนส่งภายในและระหว่างประเทศ เพื่อให้ยานพาหนะต่าง ๆ สามารถปฏิบัติงานได้อย่างปลอดภัยทั้งชีวิตและของผู้ใช้บริการ และผู้ปฏิบัติการขนส่ง ตลอดจนยานพาหนะและสิ่งของที่บรรทุก ผู้ปฏิบัติการหรือผู้ขับขี่ยานพาหนะแต่ละประเภท ต้องปฏิบัติตามกฎข้อบังคับที่ใช้อยู่ทั้งภายในต่างประเภทศที่ต้องนำยานพาหนะต่าง ๆ ไปใช้

กฎหมายหรือข้อบังคับที่ใช้อยู่ได้แก่ พรบ.รถยนต์ พรบ.ขนส่ง และกฏหมายระหว่างประเทศด้านการบินทะเล

อนึ่ง เพื่อใก้การเดินทางของยานพาหนะเป็นไปโดยสะดวก ปลอดภัย จึงต้องมีหน่วยงานภายใน และระหว่างประเทศที่เป็นผู้ออกกฎระเบียบ และดูแลการปฏิบัติตาม ได้แก่ กรมตำรวจ กรมการขนส่งทางบก กรมเจ้าท่า กระทรวงคมนาคม กระทรวงมหาดไทย เป็นต้น