หน้าเว็บ

วันอังคารที่ 3 มีนาคม พ.ศ. 2558

ความสัมพันธ์ระหว่างธุรกิจกับเศรษฐกิจและสังคมของประเทศ

หน่วยที่ 9
ความสัมพันธ์ระหว่างธุรกิจกับเศรษฐกิจและสังคมของประเทศ
สาระการเรียนรู้
1.  ความหมายของเศรษฐกิจ
2.  ปัจจัยแวดล้อมภายนอก
3.  วิวัฒนาการทางเศรษฐกิจและสังคมของประเทศไทย
4.  แผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ฉบับที่ 1-8
5.  แผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ฉบับที่ 9

จุดประสงค์การเรียนรู้
1.  บอกความหมายของเศรษฐกิจและปัจจัยที่สำคัญของระบบเศรษฐกิจได้
2.  บอกปัจจัยแวดล้อมภายนอกองค์กรธุรกิจได้
3.  บอกวิวัฒนาการทางเศรษฐกิจและสังคมของประเทศไทยตั้งแต่อดีตจนถึงปัจจุบันได้
4.  บอกลักษณะสำคัญของแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ฉบับที่ 1-9 ได้

แบบทดสอบก่อนเรียน หน่วยที่ 9
ความหมายของเศรษฐกิจ
    เศรษฐกิจ (Economics) หมายถึง กิจการหรือกระบวนการใด ๆ ก็ตามที่เกี่ยวข้องกับการผลิตสินค้า บริการจำหน่าย การค้าขาย และเกิดการบริโภคใช้สอยของประชาชนในสังคมนั้น
    ระบบเศรษฐกิจประกอบไปด้วยปัจจัยสำคัญ 4 ประการ ได้แก่
    -  ทรัพยากรธรรมชาติ 
(Natural Resources)
    -  แรงงาน (Labor)
    -  ทุน (Capital)
    -  ผู้ประกอบการ (Enterpreneur)

ปัจจัยแวดล้อมภายนอกองค์กรธุรกิจ  แบ่งออกเป็น 4 กลุ่มใหญ่ ๆ ได้แก่
    ปัจจัยแวดล้อมด้านเศรษฐกิจ เช่น
  
  -  ทรัพยากรที่เป็นปัจจัยในการผลิต
    -  การคาดคะเนระดับราคาและรายได้
    -  นโยบายด้านการเงินการคลังของรัฐบาล
    -  ภาวะเงินเฟ้อหรือเงินฝืด
    -  ขนาดของตลาด

    ปัจจัยแวดล้อมด้านสังคมและวัฒนธรรม เช่น
  
  -  ทัศนคติ ความเชื่อ ค่านิยมของสังคม
    -  ระดับการศึกษา
    -  วัฒนธรรมและจารีตประเพณี
    -  ชนชั้นวรรณะทางสังคม
    -  เพศ  อายุ

    ปัจจัยแวดล้อมด้านกฎหมายและการเมือง เช่น
   
 -  กฎหมายและข้อบังคับที่เกี่ยวข้องกับการดำเนินธุรกิจ
    -  นโยบายของรัฐบาลที่เกี่ยวข้องกับเศรษฐกิจและสังคม
    -  ความมั่นคงและความมีเสถียรภาพของรัฐบาล
    -  ความสงบเรียบร้อยหรือความวุ่นวายทางการเมือง

    ปัจจัยแวดล้อมด้านเทคโนโลยี เช่น
   
 -  การประดิษฐ์คิดค้นผลิตสินค้าหรือผลิตภัณฑ์สิ่งใหม่ ๆ
    -  ความก้าวหน้าและสะดวกรวดเร็วในการขนส่งสินค้าและบริการ
    -  ความสามารถในการจัดเก็บข้อมูล
    -  ความก้าวหน้าทางการแพทย์
    -  ความก้าวหน้าในการติดต่อสื่อสาร
 

วิวัฒนาการทางเศรษฐกิจและสังคมไทยในอดีต
    1.  สภาพเศรษฐกิจและสังคมไทยสมัยกรุงสุโขทัย  ด้านการค้าที่สำคัญ คือ ประเทศจีน ซึ่งได้มีการจัดสินค้าลงเรือและสินค้าที่สำคัญได้แก่เครื่องปั้นดินเผา และของป่า  ระบบการปกครองเป็นแบบพ่อปกครองลูก อาชีพที่นิยมคืออาชีพรับราชการ
    2.  สภาพเศรษฐกิจและสังคมไทยสมัยกรุงศรีอยุธยา  ด้านการค้าที่สำคญได้แก่ประเทศโปรตุเกส สเปน ฮอลันดา อังกฤษ ฝรั่งเศส และญี่ปุ่น  แต่ก็เป็นการค้ากับทางราชการเสียเป็นส่วนใหญ่ ประชาชนทั่วไปยังคงมีอาชีพทางด้านการเกษตร ด้านหัตถกรรม และนิยมเข้ารับราชการ
    3.  สภาพเศรษฐกิจและสังคมไทยสมัยกรุงธนบุรี  เป็นยุคที่บ้านเมืองกำลังแตกเป็นก๊ก มีการทำศึกสงคราม ประชาชนต้องหลบหนีภัยสงครามไปอยู่ตามป่าตามเขา
    4.  สภาพเศรษฐกิจและสังคมไทยสมัยกรุงรัตนโกสินทร์  เริ่มมีความเจริญก้าวหน้าอย่างรวดเร็ว ไม่ว่าจะเป็นถนน ทางรถไฟ ไฟฟ้า ประปา ฯลฯ แต่อาชีพรับราชการยังคงเป็นอาชีพที่นิยมกันอยู่  ประชาชนส่วนใหญ่มีอาชีพทางด้านการเกษตรกรรม โดยเฉพาะการทำนาปลูกข้าว รัฐบาลเริ่มส่งเสริมให้มีการผลิตเพื่อส่งออกและติดต่อค้าขายกับต่างประเทศทั่วโลก
    5.  สภาพเศรษฐกิจและสังคมไทยในปัจจุบัน  ปัจจุบันได้พัฒนามาสู่การผลิตด้านอุตสาหกรรม การค้า และการบริการมากขึ้น  แต่ส่วนใหญ่ก็ยังคงทำงานอยู่ในภาคการเกษตร สังคมไทยมีขนาดครอบครัวที่เล็กลง คนรุ่นใหม่รับเอาแนวคิดและวัฒนธรรมจากต่างประเทศเข้ามาโดยผ่านสื่อต่าง ๆ
แผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติฉบับที่ 1-9
    ประเทศไทยมีการประกาศใช้แผนพัฒนาครั้งแรกเมื่อวันที่ 1 มกราคม 2504

    -  แผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ฉบับที่ 1 เน้นการเสริมสร้างโครงสร้างพื้นฐานทางเศรษฐกิจ
    -  แผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ฉบับที่ 2 เน้นการพัฒนาสังคมควบคู่ไปกับการพัฒนาเศรษฐกิจ
    -  แผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ฉบับที่ 3 เน้นเรื่องความร่วมมือระหว่างส่วนราชการส่วนกลางกับส่วนภูมิภาค และส่วนท้องถิ่น
    -  แผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ฉบับที่ 4 เน้นเรื่องความมั่นคงปลอดภัยของประเทศเป็นหลักในการพัฒนาด้านต่าง ๆ
    -  แผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติฉบับที่ 5  เน้นเรื่องการรักษาเสถียรภาพทางเศรษฐกิจและการเงินของประเทศ
    -  แผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติฉบับที่ 6  เน้นเรื่องการยกระดับมาตรฐานคุณภาพชีวิตของประชาชน
    -  แผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติฉบับที่ 7  เน้นเรื่องการรักษาความเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจ
    -  แผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติฉบับที่ 8  เน้นเรื่องการพัฒนาศักยภาพของทรัพยากรมนุษย์และเสริมสร้างสังคม
    -  แผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติฉบับที่ 9 (ฉบับปัจจุบัน)  เน้นเรื่องความมีดุลยภาพทางเศรษฐกิจ  การยกระดับคุณภาพชีวิต  การมีระบบการบริหารจัดการที่ดีและการลดความยากจน

        ระบบเศรษฐกิจเกี่ยวข้องกับการผลิตสินค้า บริการจำหน่าย การค้าขาย และเกิดการบริโภคใช้สอยของประชาชนในสังคม ประกอบไปด้วยปัจจัยที่สำคัญต่าง ๆ ซึ่งจะทำให้การดำเนินธุรกิจไปได้ด้วยความราบรื่น โดยมีปัจจัยแวดล้อมภายนอกองค์กรธุรกิจ ที่มีผลกระทบต่อการดำเนินธุรกิจ 7 กลุ่มใหญ่ คือ ปัจจัยแวดล้อมทางด้านเศรษฐกิจ  ด้านสังคมและวัฒนธรรม  ด้านกฎหมายและการเมืองการปกครอง และด้านเทคโนโลยี

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น