หน้าเว็บ

วันอังคารที่ 3 มีนาคม พ.ศ. 2558

การใช้เทคโนโลยีในการประกอบธุรกิจ

การนำเทคโนโลยีสารสนเทศมาใช้ในงานธรุกิจ

1.การประยุกต์ใช้เทคโนโลยีสารสนเทศกับงานธุรกิจ
การประยุกต์เทคโนโลยีสารสนเทศกับระบบงานในองค์กรและงานด้านบริหารในโลกยุคใหม่มีการแข่งขันกันอย่างรุนแรง ทำให้การค้าและการดำเนินธุรกิจมีการเปลี่ยนแปลงองค์กรต่างๆเริ่มพยายามเปลี่ยนแปลงให้ก้าวทันสู่ยุคของการค้ารูปแบบใหม่ โดยผ่านเคืรอข่ายอินเตอร์เน็ต เพื่อเพิ่มช่องทางการค้าขายการตลาดและการบริการไปสู่กลุ่มลูกค้าทั้งเก่าและใหม่ เป็นการสร้างความพึงพอใจแก่ลูกค้า คำว่า "อีคอมเมิร์ซ"จัดเป็นทางเลือกหนึ่งที่ช่วยให้องค์กร ได้เปรียบคู่แข่งขัน
2.ความหมายของอีคอมเมิร์ซ (E-Commerce)
หรือชื่อที่แปลเป้นไทยว่า "พาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์" หมายถึงการดำเนินธุรกิจซื้อขายโดยใช้สื่ออิเล็กทรอนิกส์และคอมพิวเตอร์ ซึ่งเป็รส่วนหนึ่งของ E-Business หมายถึง การทำกิจกรรมทุกๆอย่างทุกขั้นตอนผ่านสื่ออิเล็กทรอนิกส์ ซึ่งมีขอบเขตที่กว้างกว่าอีคอมเมิร์ซที่เป็นการดำเนินธุรกิจโดนอาศัยเทคโนโลยีสารสนเทศและโทรคมนาคมเป็นโครงสร้างพื้นฐานเพื่อให้สามารถติดต่อสื่อสารกับลูกค้า ค้นหาข้อมูลหรือทำงานร่วมกันได้


อีคอมเมิร์ซ เป็นเรื่องที่ละเอียดอ่อน การตัดสินใจลงทุนในธุรกิจประเภทนี้ จะต้องวางแผนให้รัดกุม เพราะในปัจจุบันมีคู่แข่งขันเข้ามาในธุรกิจมาก เพราะนักลงทุนสามารถเปิดธุรกิจได้ง่ายและกำลังอยู่ในความสนใจของคนรุ่นใหม่


3.ความเป็นมาของอีคอมเมิร์ซ


ปัจจุบันมีการแลกเปลี่ยนข้อมูลระหว่างบริษัทด้วยการใช้ระบบไปรษณีย์ และอีกหลายบริษัทใช้วิธีการป้อนข้อมูลลงในโปรแกรมแบบฟอร์มธุรกิจไม่ว่าจะเป็นใบสั่งซื้อใบส่งสินค้าใบเสร็จรับเงินและจัดพิมพ์ข้อมูลออกทางเครื่องพิมพ์ จึงจัดส่งแบบฟอร์มนั้นหรือใช้วิธีส่งแฟกซ์ ทำให้บริษัทต้องสูญเสียเวลามากมายในการใช้ระบบแบบเดิม

ต่อมายุคการแลกเปลี่ยนข้อมูลอิเล็กทรอนิกส์(EDI)จึงได้มีแนวคิดที่จะทำให้คอมพิวเตอร์ช่วยการค้าทั้งสองฝ่ายแลกเปลี่ยนเอกสารกันทางอิเล็กทรอนิกส์ได้โดยตรง คือ คอมพิวเตอร์ของฝ่ายหนึ่งจัดส่งเอกสารต่างๆที่เคยต้องพิมพ์ลงไปในเอกสารนั้นไปให้คอมพิวเตอร์ของอีกฝ่ายหนึ่งในรูปข้อมูลอิเล็กทรอนิกส์โดยผ่านระบบเครือข่ายหรือเน็ตเวิร์กแบบที่จัดสร้างขึ้นโดยฌฉพาะ หรือส่งผ่านสายโทรศัทพ์ซึ่งช่วยเพิ่มความเร็วในการทำงานได้มาก แต่ปัญหาที่ตามมาคือ ไม่มีเอกสารที่อยู่บนกระดาษเป็นหลักฐานให้เซ็นชื่อกำกับเหมือนก่อน

วิธีแก้ไขปัญหาคือ ปัญหาแรกอาจต้องมีการเข้ารหัสพิเศษก่อนจะส่งข้อมูล เพื่อยืนยันได้ว่าผู้ที่เข้ารหัสมาก็คือฝ่ายที่เป็นคู่ค้าไม่ใช่บุคคลอื่นส่วนปัญหาข้อสองที่โปรแกรมไม่สามารถใช้งานในรูปแบบเดียวกันได้นั้น มีการวางมาตราฐานในการวางข้อมูลระหว่างกันให้เป็นระบบที่เรียกว่า ระบบการแลกเปลี่ยนข้อมูลอิเล็กทรอนิกส์ หรือระบบ EDI (Electronics Data Interchange)

แต่การนำระบบ EDI มาใช้ยังได้รับความนิยมน้อย เนื่องจากมีค่าใช้จ่ายในการวางระบบ และดำเนินงานสูงมาก โดยเฉพาะอย่างยิ่งในการที่จะให้คอมพิวเตอร์ของแต่ละฝ่ายที่เกี่ยวข้อง สามารถรับส่งข้อมูลกันได้อย่างราบรื่นยิ่งมีฝ่ายที่เกี่ยวข้องมากขึ้นเท่าไรความยุ่งยากซับซ้อน ที่ตามมาก็มากขึ้น ทำให้มีใช้กันเฉพาะในวงการอุตสาหกรรมหรือการค้าเฉพาะทางที่มีผู้เกี่ยวข้องเพียงไม่กี่ฝ่ายเท่านั้น เช่น ด้านอุตสาหกรรม รถยนต์

ปัจจุบันระบบอินเตอร์เน็ตเป็นที่นิยมแพร่หลาย แนวคิดในการแลกเปลี่ยนข้อมูล เพื่อการค้าระหว่างคอมพิวเตอร์ของแต่ธุรกิจที่เกี่ยวข้องโดยตรงนั้นก็เกิดขึ้น โดยแทนที่ระบบ EDI ซึ่งเป็นระบบของธุรกิจขนาดใหญ่ แต่กลายเป็นระบบการซื้อขายในระดับของผู้บริโภคทั่วๆไปโดยตรง ใครมีคอมพิวเตอร์สามารถต่อระบบอินเตอร์ได้ก็สามารถเข้าร่วมกันกระบวนการค้าอิเล็กทรอนิกส์ได้ทันที

การค้าทางอิเล็กทรอนิกส์บนอินเตอร์เน็ตสามารถทำได้ง่ายกว่า เพราะการเปลี่ยนแปลงทางด้านซอฟต์แวร์ที่ใช้งาน โปรแกรมสำหรับเรียกดูข้อมูล เช่น โปรแกรม Internet Explorer สามารถทำงานได้ค่อนข้างหลากหลาย และพัฒนาให้มีปรพสิทธิภาพอย่างต่อเนื่อง 

4.ประโยชน์ของอีคอมเมิร์ซ (E-Commerce)

ประโยชน์ของอีคอมเมิร์ซต่อบุคคล มีดังนี้

1.มีสินค้าและบริการราคาถูกจำหน่าย

2.ทำให้ลูกค้ามีทางเลือกมากขึ้น

3.สามารถทำธุรกรรมได้ตลอด 24 ชั่วโมง

4.ทราบข้อมูลเกี่ยวกับสินค้าและบริการได้ในเวลาที่รวดเร็ว

5.ทำให้ลูกค้าสามารถเลือกสินค้าตรงตามความต้องการมากที่สุด

6.สนับสุนนการประมูลเสมือนจริง

ประโยชน์ของอีคอมเมิร์ซต่อองค์กรธุรกิจ มีดังนี้

1.ขยายตลาดในระดับประเทศและระดับโลก

2.ทำให้บริการลูกค้าได้จำนวนมากทั่วดลกด้วยต้นทุนที่ต่ำ

3.ลดปริมาณเอกสารเกี่ยวกับการสร้าง การประมวล ได้ถึงร้อยละ 90

4.ลดต้นทุนการสื่อโทรคมนาคม เพราะอินเตอร์เน็ตราคาถูกกว่าโทรศัพท์

5.ช่วยให้บริษัทขนาดเล็กสามารถแข่งขันกับบริษัทขนาดใหญ่ได้

ประโยชน์ของอีคอมเมิร์ซต่อสังคม มีดังนี

1.สามารถทำงานที่บ้านได้ ทำให้มีการเดินทางน้อยลง การจราจรไม่ติดขัด

2.การซื้อสินค้าราคาถูกลง คนที่มีฐานะไม่รวยก็สามารถยกระดับมาตรฐานการขายสินค้าและบริการได้

ประโยชน์ต่อระบบเศรษฐกิจ มีดังนี้

1.กิจการ SME ในประเทศกำลังพัฒนาอาจได้ประโยชน์จากการเข้าถึงตลาดที่กว้างขวางในระดับโลก

2.ทำให้กิจการประเทศที่กำลังพัฒนาสามารถเข้าถึงเทคโนโลยีใหม่ๆได้

3.บทบาทของพ่อค้าคนกลางลดลง

5.ข้อจำกัดของอีคอมเมิร์ซ

ของจำกัดของอีคอมเมิร์ซด้านเทคนิค มีดังนี้

1.ขาดมาตราฐานสากลที่เป็นที่ยอมรับในด้านคุณภาพ ความปลอดภัยและความน่าเชื่อถือ

2.ความกว้างของช่องทางการสื่อสารมีจำกัด

3.ซอฟต์แวร์อยู่ระหว่างกำลังพัฒนา

4.ต้องการ Web server และ Network Server ที่ออกแบบมาเป้นพิเศษ

ข้อจำกัดของอีคอมเมิร์ซด้านกฎหมาย มีดังนี้

1.กฎหมายที่สามารถคุ้มครองการทำธุรกรรมข้ามรัฐหรือข้ามประเทศ ไม่มีมาตราฐานที่เหมือนกัน และมีลักษณะที่แตกต่างกัน

2.ปัญหาเกิดจากทำธุรกรรม เช่น การส่งสินค้ามีลักษณะแตกต่างตากที่โฆษณาบนอินเตอร์เน็ต

ข้อจำกัดของอีคอมเมิร์ซด้านธุรกิจ มีดังนี้
1.วงจรผลิตภัณฑ์ (Product Life Cycle) จะสั้นลงเพราะการเข้าถึงข้อมูลทำได้ง่ายและรวดเร็ว เกิดคู่แข่งขันเข้ามาในตลาดได้ง่ายและรวดเร็ว
2.ความพร้อมของภูมิภาคต่างๆในการปรับโครงสร้างเพื่อรองรับการเจริญเติมโตของ E-Commerce มีไม่เท่ากัน
3.ภาษีและค่าธรรมเนียมจากค่าธรรมเนียม E-Commerceจัดเก็บได้ยาก
4.ต้นทุนในการสร้าง E-Commerce แบบครบวงจรต้นทุนสูง
ข้อจำกัดของอีคิมเมิร์ซด้านอื่นๆ มีดังนี้
1.การให้ข้อมูลที่เป็นเท็จบนอินเตอร์เน็ตมีมาก
2.ยังไม่มีการประเมินผลการดำเนินงาน หรือวิธีการที่ดี ของ E-Commerce เช่น การโฆษณา
3.จำนวนผู้ซื้อ/ผู้ขายที่ได้กำไรหรือประโยชน์จาก E-Commerce ยังมีจำกัดในประเทศไทย
6.โครงสร้างพื้นฐานของอีคอมเมิร์ซ
การนำอีคอมเมิร์ซ มาประยุกต์ใช้ในการดำเนินธุรกิจ จำเป็นต้องอาศัยโครงสร้างพื้นฐานของเทคโนโลยี เพื่อใช้เป็นแรงขับเคลื่อนธุรกิจให้สามารถบรรลุถึงเป้าหมายที่วางไว้โดยแบ่งองค์ประกอบหลักได้ 5 ส่วน ดังนี้
1.การบริการทั่วไป เป็นบริการที่ช่วยอำนวยความสะดวกและรวดเร็วให้กับลูกค้า และสมาชิกที่สั่งซื้อสินค้าและบริการ
2.ช่องทางการติดต่อสื่อสาร เป็นช่องทางการติดต่อสื่อสาร เพื่อใช้แลกเปลี่ยนข้อมูลระหว่างผู้ใช้บริการกับผู้ใช้บริการผ่านทางโครงข่ายโทรคมนาคมได้แก่ EDI,E-mail
3.รูปแบบของเนื้อหา เป็นการจัดรูปแบบของเนื้อหาเพื่อการนำเสนอสินค้าหรือบริการในรูปแบบสื่อประสม ซึ่งผสมผสานระหว่างข้อความ ภาพนิ่ง ภาพเคลื่อนไหว และเสียงเข้าด้วยกันแล้วส่งผ่านเว็บ
4.ระบบเครือข่าย เป็นการเชื่อมต่อระหว่างคอมพิวเตอร์ตั้งแต่ 2 เครื่องขึ้นไปเข้าด้วยกันโดยมีวัถุประสงค์เพื่อทำให้คอมพิวเตอร์สามารถสื่อสารกันได้
5.ส่วนประสานผู้ใช้ เป็นส่วนที่ใช้ในการติดต่อระหว่างผู้ใช้บริการผ่านโปรแกรม Web Browser
7.ประเภทของอีคอมเมิร์ซ
อีคอมเมิร์ซ สำหรับกลุ่มธุรกิจค้ากำไร สามารถแบ่งตามความสัมพันธ์ทางการตลาดระหว่างผู้ซื้อและผู้ขายสินค้าหรือบริการ แบ่งออกได้ 6 ประเภท ดังนี้
1.แบบธุรกิจกับธุรกิจ (B2B : Business-to-Business)
เป็นการทำธุรกรรมการค้าระหว่างผู้ประกอบการกับผู้ประกอบการหรือผู้ดำเนินธุรกิจด้วยกัน เช่น การจัดซื้อ-จัดจ้าง การจัดการสินค้าคงคลัง เทคโนโลยีที่นำมาใช้สนับสุนน ได้อก่ SCM เพิ่มความสามารถในการทำกำไร โดยมีการใช้ IT โดยมีการใช้ IT เข้าร่วมตั้งแต่การจัดซื้อชิ้นส่วนวัตถุดิบ จนถึงการส่งมอบสินค้าและบริการ
2.แบบธุรกิจกับผู้บริโภค (B2C : Busniess-to-Commerce)
เป็นรูปแบบของการทำธุรกรรมทางการค้าระหว่างผู้ประกอบกับผู้บริโภคโดยตรง โดยใช้รูปแบบการดำเนินงานและเทคโนโลยีที่ช่วยสนับสนุน ปัจจุบันจะพบเห็นธุรกิจแบบนี้มาก กิจกรรมการซื้อขายแบบนี้ บริษัทหรือร้านค้าจะเปิดเว็บไซค์ เพื่อให้ลูกเข้ามาเลือกซื้อ
3.แบบผู้บริโภคกับผู้บริโภค (C2C : Consumer-to-Consumer)
เป็นรูปแบบการทำธุรกรรมทางการค้าระหว่างผู้บริโภคกับผู้บริโภคโดยตรง โดยใช้รูปแบบการดำเนินงานและเทคโนโลยีเป็นสื่อกลางในการแลกเปลี่ยนระหว่างกัน ส่วนใหญ่เป็นสินค้าประเภทมือสอง
4.แบบผู้บริโภคกับธุรกิจ (C2B : Consumer-to-Business)
เป็นรูปแบบของการทำธุรกรรมทางกาค้าระหว่างผู้บริโภคกับผู้ประกอบการ โดยผู้บริโภคได้มีการจัดตั้งเป็นกลุ่มสมาชิกหรือสหกรณ์ ดำเนินการกับผู้ประกอบการในนามของกลุ่มสมาชิกหรือสหกรณ์ที่ใช้สื่ออินเตอร์เน็ต
5.แบบธุรกิจกับรัฐบาล (B2G : Busniess-to-Government)
เป็นรูปแบบการจัดจำหน่ายสินค้าและบริการโดยตรงจากผู้ค้ากับรัฐาบาล ซึ่งรูปแบบที่ใช้ในเมืองไทยคือ การประมูลขายสินค้าให้กับภาครัฐ (E-Auction) และรูปแบบการให้บริการออนไลน์
6.แบบโมบายคอมเมิร์ซ (Mobile Commerce)
เป็นรูปแบบการค้าในระบบไร้สาย เช่น บริการดาวน์โหลดริงโทนผ่านโทรศัพท์มือถือ
8.ขั้นตอนการค้าแบบอีคอมเมิร์ซ
การทำการค้าทางธุรกิจในระบบอีคดมเมิร์ซ (E-Commerce) มีขั้นตอน 4 ขั้นตอน ดังนี้
1.แนะนำสินค้า/บริการด้วยการออกแบบและจัดทำเว็บไซค์ โดยจัดทำขึ้นดองหรือใช้บริการจากบริษัทที่รับออกแบบและจัดทำเว็บไซค์ การทำเว็บไซค์เป็นเครื่องหลัก ในการทำตลาดอีคอมเมิร์ซที่สำคัญ
2.สั่งซื้อสินค้าและบริการ เมื่อผู้ซื้อพบสินค้าหรือบริการที่ต้องการก็จะดูรายละเอียดปลีกย่อยที่เกี่ยวข้องว่าสินค้าหรือบริการเป็นอย่างไร ชำระสิ้นค้าหรือบริการได้โดยวิธีใดบ้าง
3.การชำระค่าสินค้าหรือบริการทางอินเตอร์เน็ต เมื่อรายการสินค้าหรือบริการถูกส่งไปตามทางเลือกของระบบอีคอมเมิร์ซที่ผู้ขายได้จัดทำไว้ ซึ่งอาจเป้นการรับพัสดุแบบพนักงานเก็บเงิน การจ่ายค่าสินค้าหรือบริการด้วยบัตรเครดิต หรือทางเลือกอื่นๆ
4.การจัดส่งสินค้าหรือบริการหลังจากที่มีการตกลงวิธีการชำระค่าสินค้า หรือบริการและวิธีการจัดส่งแล้ว ผู้ชายก็จะเป็นผู้จัดส่งสินค้าหรือบริการด้วยวิธีที่ตรงกันไว้เป็นอันเสร็จขั้นตอนการทำการค้าในระบบอีคอมเมิร์ซ

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น